สกุลอะแคมเป
Acampe
สกุลกุหลาบ Aerides
สกุลแมลงปอ Arachnis
สกุลเข็ม Ascocentrum
สกุลสิงโตกลอกตา Bulbophyllum
สกุลคาแลนเธ Calanthe
สกุลแคทลียา Cattleya
สกุลซีโลจิเน Coelogyne
สกุลซิมบิเดียม Cymbidium
สกุลหวาย Dendrobium
สกุลม้าวิ่ง Doritis
สกุลแกรมมาโตฟิลลัม Grammatophyllum
สกุลฮาบีนาเรีย Habenaria
สกุลรองเท้านารี Paphiopedilum
สกุลพาเลนอปซิส Phalaenopsis
สกุลรีแนนเธอร่า Renanthera
สกุลช้าง Rhynchostytis
สกุลสแปทโธกลอตติส Spathoglottis
สกุลเสือโคร่ง Trichoglottis
สกุลแวนด้า Vanda
สกุลแวนดอปซีส Vandopsis

Acampe longifolia

สกุลอะแคมเป ( Acampe )

       กล้วยไม้ชนิดต่างๆในสกุลนี้มีถิ่นกำเนิดกระจายตั้งแต่ ประเทศพม่า ประเทศจีนตอนใต้ ประเทศไทยลงไป ถึงแหลมมลายู สำหรับในประเทศไทยเริ่มจากภาคเหนือลงไปถึงภาคใต้ รวมทั้งภาคตะวันออก และตะวันตกลักษณะ ทรงต้นล่ำสัน แข็งแรง ใบค่อนข้างหนา กลีบดอกหนา ดอกมีลักษณะคล้ายดอกกล้วยไม้ในสกุลแวนดอพซิส และ สกุลเสือโคร่ง ดอกมีลักษณะคล้ายเสือโคร่งมาก แต่ไม่มีลิ้น หรืออวัยวะอื่นใดอย่ด้านหลังของปาก บางชนิดมีมีทรงต้น ค่อนข้างใหญ่ แต่บางชนิดทรงต้นมีขนาดเล็ก ปลายปากของดอกกล้วยไม้สกุลนี้ ขึ้นไปรวมกันอยู่ตรงปลายก้านช่อ ถ้ามองจากด้านหน้าในขณะดอกกำลังบานอยู่กับต้นอาจรู้สึกเหมือนกลับหัว

         กล้วยไม้สกุลอะแคมเปที่รู้จักคุ้นเคยกันค่อนข้างแพร่หลายมีอยู่อย่างน้อย 4 ชนิด ชนิดที่มีทรงต้นใหญ่ที่สุด และมีเรื่องราวปรากฏอยู่ในประวัติการศึกษาด้านพฤกษศาสตร์ คือ เอื้องดอกมะขาม ( Acampe longifolia ) เป็นกล้วยไม้ที่มีลำต้นอ้วนล่ำ ใบใหญ่หนา ใบยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้าง 3.5 เซนติเมตร ปลายใบกว้าง มีหยักเป็น 2 แฉกไม่เท่ากัน ช่อดอกตั้งและมีแขนงช่อสั้น ๆ 1 - 2 แขนง ดอกเบียดชิดกันอยู่ปลายช่อ เมื่อดอกบานเต็มที่มองดูคล้ายดอกเพียงแย้ม และแหงนหน้าขึ้นข้างบน ดอกมีสีเหลืองอมเขียว และมีลายขวางสีแดงเป็นระยะ ๆ กลีบดอกหนา แต่ดอกโตเพียง 1 เซนติเมตร เท่านั้น นอกจากเอื้องดอกมะขามแล้วยังมีเอื้องตีนเต่า ( Acampe multiflorum ) เอื้องตีนตุ๊กแก ( Acampe papillosa ) รูปทรงตันมีขนาดเล็ก แต่แข็งแรง ล่ำสัน และมีนิสัยแตกหน่อง่าย และอะแคมเป ออเครเซีย ( Acampe ochracea ) ซึ่งมีทรงต้นสูงโปร่ง และใบยาวกว่าเอื้องตีนตุ๊กแก

 

Top