โรคกล้วยไม้

โรคแอนแทรคโนส
โรคเน่าดำหรือโรคเน่าเข้าไส
โรคดอกด่างของแคทลียา
โรคดอกสนิม
โรคเน่าแห้งหรือเหี่ยว
โรคใบจุด

โรคใบด่าง หรือยอดบิด

โรคเน่าเละ
โรคราดำ
โรคใบปื้นเหลือง
โรคใบด่างหรือยอดบิด
(mosaic)


สาเหตุของโรค

           เกิดจากเชื้อไวรัส
Cybidium Mosaic Virus (CyMV)

ลักษณะอาการ

           โรคนี้จะแสดงอาการรุนแรงในหวายปอมปาดัวร์ ทำให้ผลผลิตลดลง ดอกเล็ก สีซีด และร่วงก่อนกำหนด ช่อดอกสั้น อาการแสดงชัดเจนที่ยอกและลำอ่อน เริ่มจากยอด 3-4 ใบ เกิดขีดสั้นๆ สีขาวยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เป็นทางยาวจากโคนขึ้นไป ยอดใบจะหงิกหรือบิดเล็กน้อย

           ส่วนในลำที่โตเต็มที่ อาการของโรคจะลดลงเป็นขีดขาวสั้นๆ บริเวณโคนใบล่างๆ และยังสามารถให้ช่อดอก ในต้นที่เป็นรุนแรงจะพบขีดสีขาวกระจายไปทั่วทั้งใบ ทำให้เนื้อใบบางไม่สม่ำเสมอ และอาจมีรอยด่างสีเขียวเข้มเป็นทางไปตามความยาวของใบ ขอบใบจะมีสีม่วง ยอดบิดเบี้ยว ใบม้วนลงและไม่ให้ดอก อาการด่างบนดอกสังเกตได้ยาก เท่าที่พบคือดอกแคระแกรน กลีบดอกมีสีม่วงเข้มเป็นแต้มหนาและกระด้าง บางต้นดอกมีสีและรูปร่างผิดปกติ ใบมักยาวแคบ สีดอกด่างและซีดบริเวณปลาย กลีบดอกทุกส่วนเปลี่ยนเป็นสีขาว ดอกเล็กและร่วงง่าย

การแพร่ระบาด

          โรคนี้สามารถเกิดได้ตลอดเวลา เชื้อสาเหตุเป็นเชื้อไวรัสที่แพร่ระบาดกว้างขวางมาก โดยการแตะต้องหรือติดไปกับเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ และสามารถแพร่ระบาดโดยติดต่อไปกับหน่อจากต้นที่เป็นโรคได้ด้วย

การป้องกันกำจัด

1. กำจัดหรือทำลายแหล่งของเชื้อโรค เช่น พืชอาศัยหรือวัชพืชอื่นใดที่มีอยู่ในเรือนกล้วยไม้ รวมทั้งแยกต้นเป็นโรคออกไปทำลาย

2. เครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ควรทำการฆ่าเชื้อโดยจุ่มลงในแอลกอฮอร์ 95% แล้วลนไฟ หรือล้างด้วยสารละลายไตรโซเดียมฟอสเฟท (Trisodium phosphste) ก่อนที่จะนำไปใช้กับกล้วยไม้ต้นอื่นต่อไป

3. การขยายพันธุ์ควรใช้จากลูกกล้วยไม้ที่ไม่เป็นโรค หากไม่แน่ใจอาจทิ้งแยกไว้ต่างหาก อย่ารีบนำไปปะปนกับต้นอื่น

Top