โรคกล้วยไม้

โรคแอนแทรคโนส

โรคเน่าดำหรือโรคเน่าเข้าไส
โรคดอกด่างของแคทลียา
โรคดอกสนิม
โรคเน่าแห้งหรือเหี่ยว
โรคใบจุด
โรคใบด่าง หรือยอดบิด
โรคเน่าเละ
โรคราดำ
โรคใบปื้นเหลือง

 

โรคแอนแทรคโนส
(Anthacnose)

โรคแอนแทรคโนส
โรคแอนแทรคโนส

สาเหตุของโรค

          เ
กิดจากเชื้อรา
Colletotrichum gloeosporiodes (Penz.) Sacc.

ลักษณะอาการ

       
อาการส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ใบ จะเกิดเป็นแผลรูปกลมหรือวงรี สีน้ำตาลอมแดงหรือสีน้ำตาลไหม้ ซึ่งขยายออกไปเป็น แผลใหญ่เห็นเป็นวงซ้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อที่เป็นแผลอยู่ลึกลงไปต่ำกว่าระดับผิวใบเล็กน้อย ทำให้เห็นขอบแผลชักเจน ถ้าเป็นที่กลางใบจะเห็นแผลค่อนข้างกลม ถ้าเกิดที่ปลายใบแผลจะลามมาที่โคนใบ

          บริเวณแต่ละวงจะมีตุ่มเล็กๆของเชื้อสีดำเป็นจุดซึ่งได้แก่ fruiting body แบบที่เรียกว่า acervulus ของเชื้อสาเหตุนั้นเอง กล้วยไม้บางชนิดที่ขอบแผลเป็นเนื้อเยื่อสีเหลืองล้อมรอบแผล เช่น ลักษณะแผลในกล้วยไม้แมลงปอ บางชนิดขอบแผลสีน้ำตาลเข้มกว่าภายใน และไม่มีขอบแผลสีเหลือง เช่น แผลของกล้วยไม้ดินบางชนิด เมื่อเป็นนานเข้าเนื้อเยื่อแผลจะแห้งบางผิดปกติ ขนาดของแผลแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมว่า จะเหมาะสมต่อการเกิดโรคเพียงไร บางแห่งมีเชื้อราชนิดอื่นขึ้นร่วมปะปนในภายหลังด้วย ทำให้แผลขยายกว้างออกไป จนไม่พบแผลลักษณะวงกลมอย่างตอนแรก กล้วยไม้ที่มีใบอวบน้ำมาก เช่น แคทลียา ลูกผสมแมลงปอ และกล้วยไม้ดินบางชนิด ใบจะเน่าเปื่อยถ้าฝนตกชุก แต่โดยปกติจะเป็นแผลแห้งติดกับลำต้น โรคแอนแทรคโนสนี้มักเกิดบนใบกล้วยไม้ที่ถูกแดดจัด

          เชื้อสาเหตุอาจลุกลามไปยังดอกได้ด้วย โดยเฉพาะพวกหวายมาดาม ทำให้ดอกเป็นจุดสีน้ำตาลเล็กๆ ต่อมาแผลจะขยายใหญ่และเป็นสีม่วงเข้มขึ้น ถ้าเป็นมากๆ อาจทำให้กลีบดอกเน่าได้ และอาจเข้าทำลายตรงบริเวณเกสรทำให้เกิดแผลเน่าดำได้


การแพร่ระบาด

          เชื้อรานี้ชอบอุณหภูมิ และความชื้นค่อนข้างสูง ฉะนั้นจะพบระบาดมากในฤดูฝน นอกจากนี้ในสภาพที่รังกล้วยไม้รับแดจัด เชื้อราจะเข้าทำลายกล้วยไม้ได้ง่ายขึ้น และสปอร์ของเชื้อรายังสามารถแพร่กระจายไปกับลม หรือฝน หรือน้ำที่ใช้รดแบบสายยาง หรือระบบสปริงเกิล


การป้องกันและกำจัด

1. อย่าให้กล้วยไม้ถูกแดดจัด เพราะจะทำให้เกิดแผล ควรทำร่มเงาขึ้นปกคลุม และระวังการให้น้ำขณะที่แดดจัด เพราะจะทำให้เซลล์พืชอ่อนแอ เชื้อเข้าทำลายได้ง่าย

2. พยายามใบที่เป็นโรค ไปเผาทำลาย เพื่อป้องกันการลุกลาม และเชื้อจะได้ไม่แพร่ระบาดไปยังที่อื่นๆ

3. ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันและกำจัดโรคพืช ได้แก่ แมนโคเซบ แคปแทน คาร์เบนดาซิม โปรคลอราท อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกับแมนโคเซบ อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟอลเพต อัตรา 30-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบโรคทุก 7-10 วัน

4. ถ้าเชื้อเข้าทำลายต้น อาจใช้สารเคมีพวก Natriphene เข้มข้น 1:2,000 ฉีดทั่วลำต้น

Top