กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี (Lady's Slipper)

          เป็นกล้วยไม้สกุล Paphiopedilum มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือ บุหงากะสุต ในภาษามาเลเซีย อันหมายถึงรองเท้าของสตรี เนื่องจากกลีบดอก หรือที่เรียกว่า "กระเป๋า" มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรีและรองเท้าไม้ของชาวเนเธอแลนด์ กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักษณะและสีสรรแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์

          กล้วยไม้รองเท้านารี มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และเขตร้อนแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และในประเทศไทย

          รองเท้านารี เป็นกล้วยไม้ประเภทแตก แต่ไม่มีลำลูกกล้วย หน่อใหม่จะแตกจากตาที่โคนต้นเก่า มีลำต้นสั้นมากแต่มีใบยาว บางชนิดใบตั้งชูขึ้น บางชนิดใบทอดขนานกับพื้น บางชนิดใบมีลาย คือ มีพื้นทีเขียวอ่อนลานสีเขียวเข้ม แต่บางชนิดใบเป็นสีเดียวเรียบๆ ไม่มีลาย รากเป็นระบบรากกึ่งดิน รากจะออกมาเป็นกระจุกที่โคนต้น และมักจะทอดไปทางด้านราบมากกว่าหยั่งลึกลงไป ดอกมักออกที่ยอด มีทั้งชนิดออกเป็นดอกเดี่ยว ๆ และออกเป็นช่อ ดอกประกอบด้วยกลีบนอก 2 กลีบ เป็นกลีบนอกบน 1 กลีบ กลีบนอกล่าง 1 กลีบ ที่เป็นเช่นนิ้ก็เพราะกลีบล่างเชื่อมกันเป็นกลีบเดียว แต่ถ้ามองด้านหลังจะเห็นสันแบ่งเป็น 2 กลีบ กลีบดอกชั้นนอกกลีบบนมักจะมีขนาดใหญ่สะดุดตา กลีบในมี 3 กลีบ เป็นกลีบในบน 2 กลีบ กลบในบนกางออกไปทั้งสองข้างของดอก ถ้ากลีบนี้ยาวอาจห้อยลงมา ส่วนกลีบในล่างเรียกว่าปาก มีรูปเป็นกระเปาะ มีรูปร่างคล้ายหัวรองเท้าของสตรี กระเปาะนี้มีหน้าที่รับน้ำฝนตกลงไปเพื่อชะล้างเกสรตัวผู้ไปตัดกับแผ่นเกสรตัวเมีย

          กล้วยไม้สกุลนี้จะมีทั้งเกสรตัวผุ้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน แต่จะมีเส้าเกสรแตกต่างจากกล้วยไม้ทั่วๆ ไป คือ ที่ปลายสุดของเส้าเกสร แทนที่จะเป็นอับเรณูกลับเป็นแผ่นบางๆ ซึ่งทางพฤษศาสตร์ถือเป็นเกสรที่เปลี่ยนรูปร่างไปใช้การไม่ได้ เรียกส่วนนี้ว่า "สตามิโนด"
( Stamenode ) สำหรับเกสรตัวผู้ที่ใช้การได้มีอยู่ 2 ชุด โดยจะอยู่ถัดต่ำลงมาทั้ง 2 ข้างของเส้าเกสรข้างละ 1 ชุด ในแต่ละชุดจะมีอับเรณูลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ 2 อัน ถัดต่ำลงมาจากส่วนนี้อีกจะเป็นยอดเกสรตัวเมียซึ่งเป็นแอ่งลึกลงไปยึดติดกับเส้าเกสร (ปกติส่วนนี้จะถูกหูกระเป๋าโอบหุ้มเอาไว้จนมิด) ภายในมีน้ำเมือกเหนียวสำหรับยืดเกสรตัวผู้ที่ตกลงไปในแอ่ง รังไข่อยู่ตรงส่วนของก้านดอก ภายในรังไข่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นไข่อ่อน จนกระทั่งผสมเกสรแล้วจึงเกิดไข่อ่อนในรังไข่ รังไข่จะกลายเป็นฝักเมื่อฝักแก่จะแตกเมล็ดสามารถเจริญงอกงามเป็นต้นใหม่ได้

          กล้วยไม้รองเท้านารีส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่ชอบขึ้นอยู่ตามพื้นดิน หรือซอกหินที่มีใบไม้เน่าเปื่อยทับถมกันมานาน แต่มีบางชนิดจะเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ กล้วยไม้สกุลนี้เหมาะกับการปลูกเป็นไม้ประดับกระถางมากกว่าการตัดดอกมาใช้งาน ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ รองเท้านารีฝาหอย รองเท้านารีเหลืองปราจีน รองเท้านารีเหลืองตรัง รองเท้านารีขาวสตูล รองเท้านารีดอกขาว รองเท้านารีเมืองกาญจน์ รองเท้านารีอินทนนท์ รองเท้านารีคางอึ่งสีชมพู รองเท้านารีคางอึ่งสีเหลือง รองเท้านารีเหลืองกระบี่ รองเท้านารีม่วงสงขลา รองเท้านารีคางกบคอแดง รองเท้านารีเหลืองเลย รองเท้านารีปีกแมลงปอ รองเท้านารีช่องอ่างทอง เป็นต้น

          โดยธรรมชาติของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีทุกชนิด เมื่อออกดอกแล้วก็จะตายไป แต่ก่อนตายจะแตกหน่อทดแทน ซี่งหน่อนี้ก็จะเจริญงอกงามเป็นต้นใหม่ต่อไป ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้รองเท้านารี ที่สำรวจพบ ได้แก่

รองเท้านารีอินทนนท์
Paphiopedilum villosum

รองเท้านารีอินทนนท์
Paphiopedilum villosum

          เป็นพันธุ์กล้วยไม้ที่พบเมื่อ พ.ศ. 2396 มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณแถบที่มีอากาศชื้นและอุณหภูมิต่ำ เช่น ดอยอินทนนท์ และภูเขาสูง ลักษณะของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบสีเขียวสม่ำเสมอทั้งใบ ไม่มีลาย โคนใบส่วนใกล้กับเหง้ามีจุดสีม่วงประปราย และค่อยๆ จางหายตรงส่วนปลายใบ ใบยาวบางและอ่อน เป็นรองเท้านารีที่มีเกสรตัวผู้ต่างจากชนิดอื่นคือ เกสรตัวผู้จับตัวรวมเป็นก้อนแข็งค่อนข้างใส มีสีเหลืองไม่เป็นยางเหนียว
ชื่ออื่น เอื้องไข่ไก่ เอื้องคางกบ เอื้องแมลงภู่ เอื้องอินทนนท์
สกุลย่อย
Paphiopedilum
หมู่
Paphiopedilum
จำนวนโครโมโซม 2n=26
ถิ่นกำเนิด มีการกระจายพันธุ์ในพม่า อินเดีย และในไทยจังหวัดเลย ชัยภูมิ และเชียงใหม่ ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล 300 - 1600 เมตร
ลักษณะทั่วไป มีการเจริญเติบโตแบบพืชอาศัยตามซอกผาหินหรือพืชอิงอาศัย
ต้น มีพุ่มใบขนาด 30 เซนติเมตร เกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้
ใบ รูปขอบขนานหรือรูปแถบกว้าง 2.5 - 3.2 เซนติเมตร ยาว 25 - 3 5 เซนติเมตร ไม่มีลาย แผ่นใบหนาสีเขียว
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกสีเขียว มีจุดประสีม่วงแดง ยาว 18 - 24 เซนติเมตร และมีขนสั้นปกคลุม เมื่อดอกบานเต็มที่มีขนาด 6.9 - 9 เซนติเมตร กลีบนอกหนาเป็นมัน กลีบนอกโคนกลีบสีน้ำตาลอมแดง ถัดมาอาจเป็นสีเขียวอมเหลืองหรือม่วงแดงเรื่อและขลิบสีขาวตามขอบกลีบ ส่วนโคนกลีบดอกมีขนยาวสีน้ำตาล และเส้นสีน้ำตาลลากกึ่งกลางกลีบตามแนวยาวเป็นสองส่วน ส่วนบนสีม่วงแดงหรือน้ำตาลแดง ส่วนล่างมีสีเหลืองอมน้ำตาล และมีขนอ่อนปกคลุมโดยรอบ กระเป๋าสีม่วงแดงหรือน้ำตาลแดงเรื่อและมีเส้นร่างแหกระจายทั่ว โล่สีเหลือง รูปทรงคล้ายรูปหัวใจกลับ ขนาด 1-1.3 เซ็นติเมตร มีผิวขรุขระ กึ่งกลางมีตุ่มสีเหลืองเข้ม ด้านล่างหยักเป็นติ่งเล็กๆ
ฤดูออกดอก พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์
ลักษณะนิสัย ชอบอากาศเย็น ปลูกเลี้ยงและให้ดอกดก เครื่องปลูกควรโปร่งมีการระบายน้ำดี ถ้าปลูกในที่แสงรำไรดอกจะมีสีสด

          รองเท้านารีชนิดนี้มีอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีการกระจายพันธุ์ในพม่าเช่นกัน คือ
รองเท้านารีวิลโลซั่มบ๊อกซอลลิอาย (Paphiopedilum villosum var.boxallii (Rchb.f.) Pfitz.
กลีบนอกบนมีแต้มใหญ่อยู่กึ่งกลางกลีบ

 

รองเท้านารีเหลืองปราจีน
Paphiopedilum concolor
          ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2402 มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบลาย ท้องใบสีม่วง ก้านดอกยาวมีขน อาจมี 2-3 ดอกบนก้านเดียวกันได้ กลีบดอกด้านบนผายออกคล้ายพัด ปลายมนสูง กลีบในกางพอประมาณ เมื่อดอกบานจะคุ้มมาข้างหน้าแลดูคล้ายดอกบานไม่เต็มที่ พื้นดอกสีเหลืองอ่อน มีประจุดเล็กๆ สีม่วงประปราย กระเปาะสีเดียวกับกลีบดอก ปลายกระเปาะค่อนข้างเรียวแหลมและงอนปลายเส้าเกสรเป็นแผ่นใหญ่

รองเท้านารีเหลืองปราจีน
Paphiopedilum concolor

รองเท้านารีเหลืองกระบี่
Paphiopedilum Exul

รองเท้านารีเหลืองกระบี่
Paphiopedilum Exul
          ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2435 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบเกาะพงันจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะพังงา และจังหวัด ชุมพร ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีใบสีเขียว ไม่มีลาย ใบแคบและหนา ผิวเป็นมัน เส้น กลางใบเป็นรอยลึกรูปตัววี ก้านดอกแข็ง ดอกใหญ่ กลีบดอกนอกบนเป็นรูปใบโพธิ์กว้าง สอบตรง ปลาย กลีบดอกสีขางไล่จากโคนกลีบ แนวกลางของกลีบเป็นสีเหลืองอมเขียวประด้วยจุด สีม่วง กลีบ ในสีเหลืองแคบและยาวกว่ากลีบนอก กระเปาะสีเหลือง เป็นมัน

รองเท้านารีเหลืองตรัง
Paphiopedilum godefroyae
          ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2419 ขึ้นตามโขดหิน ถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณเกาะรัง จังหวัดชุมพร ลักษณะเด่น คือ ใบลาย ท้องใบสีม่วง ปลายมนคล้ายรูปลิ้น ก้านดอกสีม่วงมีขน ดอกโตสีครีมเหลือง กลีบนอกบนรูปกลม ปลายยอดแหลมเล็กน้อย กลีบในสองข้างกลมรี ปลายกลีบเว้า ประจุดลายสีน้ำตาลจางตรงโคนกลีบแล้วค่อยจางออกตอนปลาย ปากกระเปาะขาวไม่มีลาย


รองเท้านารีเหลืองตรัง
Paphiopedilum godefroyae

รองเท้านารีเหลืองเลย
Paphiopedilum hirsutissimumi

รองเท้านารีเหลืองเลย
Paphiopedilum hirsutissimumi
          ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2455 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบภูเขาในภาคอีสาน เช่น เลย เพชรบูรณ์ เป็นต้น ลักษณะเด่นของ กล้วยไม้ คือ มีใบเขียวเป็นมัน ใบยาว กลีบดอกด้านบนสีแดงเข้มออกน้ำตาล ขอบกลีบสีเหลืองอมเขียว ปลายกลีบบีบเข้า กลีบในเป็นสีขมพูแดง
กระเปาะสีคล้ายกลีบดอก
รองเท้านารีเหลืองพังงา
Paphiopedilum Godefroyae var leucochilum
          ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2435 ถิ่นกำเนิดอยู่บนภูเขาหินปูนแถบฝั่งทะเล ในจังหวัดภาคใต้ ลักษณะเด่น คือ มีลักษณะคล้ายกับรองเท้านารี “เหลืองตรัง” แต่รองเท้านารีเหลืองพังงาจะมีสีครีมออกเหลือง และที่กระเปาะมีจุดประเล็กๆ สีน้ำตาล


รองเท้านารีเหลืองพังงา
Paphiopedilum Godefroyae var leucochilum

รองเท้านารีบาร์บาตัม
Paphiopedilum Barbatum

รองเท้านารีบาร์บาตัม
Paphiopedilum Barbatum
          ถิ่นกำเนิด แถบคาบสมุทรมารายา อ่าวไทย และ เกาะปีนัง พบอยู่ตามซอกหินแกร็นนิสที่ถูกปกคุมด้วยมอส และที่มีซากใบไม้ผุพังทับถม พุ่มต้นกว้างประมาณ 12.5-15 ซม. ใบกว้าง 3.5-4 ซม. ใบด้านบนเป็นลายสีเขียวเข้มสลับเขียวอ่อน ขนาดดอก 8 ซม. ก้านดอกตรงยาวประมาณ 35 ซม. กลีบบน มีพื้นสีขาว ลายสีเขียวและน้ำตาลแดงเข้ม กลีบดอกมีสีเขียวเข้มปนน้ำตาลแดงเข้มปลายมีสีขาว และมีไฝสีน้ำตาลแดงเข้ม 4-5 จุด กระเป๋าสีน้ำตาลแดงเข้ม ฤดูออกดอก ธันวาคม - มกราคม และ มิถุนายน – กรกฎาคม

รองเท้านารีสุขะกุล
Paphiopedilum sukhakulii
           ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2507 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบจังหวัดเลยบนยอดภูหลวง กล้วยไม้พันธุ์นี้มีลักษณะเด่น คือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้านารีคางกบ แต่มีรายละเอียดส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกัน ได้แก่ พื้นกลีบสีเขียวมีจุดสีม่วงประปรายทั่วกลีบ ปลายกลีบดอกแหลม พื้นกลีบมีสีทางสีเขียวถี่ๆ ลายทางจากโคนดอกวิ่งไปรวมที่ปลายกลีบ กลีบในกางเหยียด ขอบกลีบมีขนเช่นเดียวกับบริเวณโคนดอก
ชื่ออื่น รองเท้านารีปีกแมลงปอ(กรุงเทพฯ)
สกุลย่อย Paphiopedilum
หมู่ Barbata
จำนวนโครโมโซม 2n=40
ถิ่นกำเนิด มีการกระจายพันธุ์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของไทยที่ภูหลวง จังหวัดเลย ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 1000 เมตร
ลักษณะทั่วไป มีการเจริญเติบโตแบบพืชอาศัยบนดิน
ต้น มีพุ่มใบขนาด 15-18 เซนติเมตร
ใบ รูปรีแก้มขอบขนาน กว้าง 3-3.5 เซนติเมตร ยาว 12-15 เซนติเมตร แผ่นใบแข็งหยาบ เป็นลายหินอ่อนสีเขียวสลับเขียวเทา โคนกาบใบมีจุดสีม่วงแดงกระจายหนาแน่น
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกตั้งตรงสีม่วงแดง ยาว 12-15 เซนติเมตร และมีขนสั้นปกคลุม เมื่อดอกบานเต็มที่มีขนาด 8-10 เซนติเมตร กลีบนอกบนมีสีขาวและเส้นริ้วสีเขียวจำนวนมาก กลีบดอกอยู่ในแนวระนาบมีสีเขียวอ่อน เส้นริ้วสีเขียวและแต้มสีม่วงแดงกระจายทั่วกลีบ ขอบกลีบมีขนยาวสีม่วงแดงปกคลุม กระเป๋าสีเขียว โล่สีขาวนวล รูปทรงคล้ายรูปเกือกม้า ขนาด 1-1.2 เซ็นติเมตร กึ่งกลางมีเส้นร่างแหสีเขียว ด้านล่างเป็นหยักเขี้ยว
ฤดูออกดอก กันยายน-ธันวาคม
ลักษณะนิสัย ชอบความชื้นในอากาศสูงและอากาศเย็น ปลูกเลี้ยงง่ายให้ดอกดก แข็งแรง โตเร็ว
ปัจจุบันกำลังจะสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้ว


รองเท้านารีสุขะกุล
Paphiopedilum sukhakulii
รองเท้านารีดอยตุง
Paphiopedilum Charlesworthii
รองเท้านารีดอยตุง
Paphiopedilum Charlesworthii (Rolfe) Pfitzer
สกุลย่อย Paphiopedilum
หมู่
Paphiopedilum
จำนวนโครโมโซม 2n=26
ถิ่นกำเนิด มีการกระจายพันธุ์ในพม่าและไทย ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล 1200 - 2000 เมตร
ลักษณะทั่วไป มีการเจริญเติบโตแบบพืชอาศัยบนดิน
ต้น มักเจริญเป็นกลุ่ม มีพุ่มใบขนาด 20 - 25 เซนติเมตร
ใบ รูปแถบ กว้าง 2.5 - 3 เซนติเมตร ยาว 15 - 20 เซนติเมตร แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน โคนกาบใบมีจุดสีม่วงเข้ม
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกตั้งตรงสีม่วงแดง ยาว 15 - 20 เซนติเมตร และมีขนสั้นๆปกคลุม เมื่อดอกบานเต็มที่มีขนาด 7 - 9 เซนติเมตร กลีบนอกบนมีสีชมพูเป็นมัน โคนกลีบมีสีม่วงเข้ม และเส้นร่างแหสีม่วงกระจายทั่ว กลีบดอกงุ้มมาด้านหน้า ขอบกลีบย่นเล็กน้อย มีสีเหลืองอมน้ำตาล และเส้นร่างแหสีน้ำตาลแน่นหนา กระเป๋าสีเหลืองอมน้ำตาลเป็นมัน รูปทรงเป็นรูปหัวใจกลับขนาด 0.8 - 1 เซ็นติเมตร กึ่งกลางมีติ่งสีเหลือง ด้านล่างหยักและมีติ่งแหลมเล็กน้อย
ฤดูออกดอก ตุลาคม - กุมภาพันธ์
ลักษณะนิสัย ชอบความอากาศเย็น ปลูกเลี้ยงง่าย ถ้าปลูกในที่ร่มดอกจะบานได้หลายวัน
ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้ว(ในประเทศไทย) ยังพบอยู่ในรัฐฉาน พม่า จัดเป็นพันธุ์ที่หายาก ราคาแพง ถ้าฟอร์มดอกใหญ่และมีสีเข้ม

รองเท้านารีฝาหอย
Paphiopedilum bellatulum
          ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2431 ถิ่นกำเนิดอยู่ตามหุบเขาในเขตพม่าต่อชายแดนไทยตอนเหนือแถบจังหวัดลำพูน และเขตอำเภอเชียงดาว ภาคใต้ เช่น หมู่เกาะอ่างทอง และเกาะช้างในจังหวัดพังงา เป็นต้น ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ ใบใหญ่ปลายมน ใบลายสีเขียวแก่และเขียวอ่อนใต้ท้องใบสีม่วงแดง ก้านดอกสั้นมีขน กลีบดอกนอกกว้างมนกลมปลายกลีบคุ้มลงด้านหน้า กลีบในทั้งสองกว้างมนรูปไข่ คุ้มออกด้านหน้า กลีบนอกและกลีบในเกยกันทำให้แลดูลักษณะดอกกลมแน่น กลีบดอกสีขาวนวล ประจุดสีม่วงจากโคนกลีบ กระเปาะมนกลมคล้ายฟองไข่นก Plover (ซึ่งเป็นที่มาของรองเท้านารีฝาหอยที่เรียกว่า "Plover Orchid")
ชื่ออื่น เอื้องอึ่ง (แพร่)
สกุลย่อย Brachypetalum
หมู่ Brachypetalum
จำนวนโครโมโซม 2n=26
ถิ่นกำเนิด มีการกระจายพันธุ์ในภาคเหนือของไทย พม่า และตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป
ลักษณะทั่วไป มีการเจริญเติบโตแบบพืชอาศัยบนดิน
ต้น เล็กแคระ มีพุ่มใบขนาด 10 - 12 เซนติเมตร
ใบ รูปรีแก้มรูปขอบขนาน กว้าง 3 - 4.5 เซนติเมตร ยาว 13 - 15 เซนติเมตร แผ่นใบหนาเป็นลายตารางสีเขียวเข้มสลับสีเขียวเทา ใต้ใบมีจุดสีม่วงเล็กกระจายทั่วไป
ดอก เป็นดอกเดี่ยว มี 1 - 3 ดอกต่อต้น ก้านดอกสั้นตั้งตรงสีม่วงแดงยาว 3 - 7 เซนติเมตร เมื่อดอกบานเต็มที่เป็นรูปกลมเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 5.5 - 7 เซนติเมตร และงุ้มมาด้านหน้า ส่วนกลีบนอกบน กลีบดอกและกระเป๋าและโล่สีขาว มีจุดและแต้มสีม่วงแดงกระจายทั่ว รูปทรงคล้ายรูปหัวใจกลับขนาด 1 เซนติเมตร กึ่งกลางเป็นร่องและมีแต้มสีเหลือง
ฤดูออกดอก กุมภาพันธ์- กรกฎาคม
ลักษณะนิสัย ชอบอากาศเย็นและระบบรากไวต่อปริมาณเกลือแร่ในเครื่องปลูก ควรปลูกในสภาพอากาศแห้งและเย็น ออกดอกยาก ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น ถ้านำมาปลูกในกรุงเทพฯมักไม่ออกดอก
นอกจากนี้ยังมีรองเท้านารีฝาหอยยังมีความแปรผันของลักษณะดอกเกิดขึ้นได้อีก คือ
รองเท้านารีฝาหอยเผือก Paphiopedilum ิbellatulum(Rchb. f.) Stein var. album O'Brien ให้ดอกสีขาวนวลที่ไม่มีจุดสีม่วงแดงบนดอกเลย
บันทึกเพิ่มเติม ปัจจุบัน รองเท้านารีฝาหอยจัดว่าหาง่ายในภาคเหนือตอนบนและราคาถูก และมีหลงเข้ามาเลี้ยงในพื้นที่ภาคเหนือ คือ รองเท้านารีฝาหอย พม่า ซึ่งจะมีใบยาวและใหญ่ ขนาดดอกใหญ่กว่าของไทยมาก และ รองเท้านารีฝาหอยเมืองจีน ซึ่งมีดอก 3 สี คือ ขาว เหลือง แดง

รองเท้านารีฝาหอย
Paphiopedilum bellatulum
รองเท้านารีขาวสตูล
Paphiopedilum niveum
รองเท้านารีขาวสตูล
Paphiopedilum niveum
          ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2411 ถิ่นกำเนิดอยู่ตามเกาะแถบภาคใต้ ลักษณะเด่น คือ ใบมีลายสีเขียวคล้ำ ปลายมนพอสมควร ใต้ท้องใบสีม่วงแก่ ก้านดอกแข็งยาวเรียวมีทั้งสีม่วงและเขียวมีขน ดอกค่อนข้างเล็กปลายกลีบบานคุ้มมาข้างหน้า ดอกสีขาวเป็นมัน กลีบในประจุดสีม่วง กระเปาะรูปกลมเหมือนไข่สีเดียวกับกลีบคือ ขาว
ชื่ออื่น รองเท้านารีกระบี่ รองเท้านารีช่องอ่างทอง(ภาคใต้) รองเท้านารีดอกขาว(กรุงเทพฯ)
สกุลย่อย
Brachypetalum
หมู่
Brachypetalum
จำนวนโครโมโซม 2n=26
ถิ่นกำเนิด มีการกระจายพันธุ์ในมาเลเซียและไทยซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 200 เมตร
ลักษณะทั่วไป มีการเจริญเติบโตแบบพืชอิงอาศัย
ต้น เจริญเป็นกลุ่ม มีพุ่มใบขนาด 15-18 เซนติเมตร
ใบ รูปรี กว้าง 2.5 - 3.5 เซนติเมตร ยาว 15 - 17 เซนติเมตร แผ่นใบหน้าเป็นลายตารางสีเขียวเข้มสลับสีเขียวเทา ใต้ใบมีจุดสีม่วงแดงกระจายหนาแน่น
ดอก เป็นดอกเดี่ยว มี 1 - 3 ดอกต่อช่อ ก้านดอกตั้งตรงสีม่วงแดงยาว 15 - 17 เซนติเมตร เมื่อดอกบานเต็มที่เป็นรูปกลมเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 6 - 8 เซนติเมตร กลีบหนางุ้มมาด้านหน้า กลีบนอกบน กลีบดอกและกระเป๋ามีสีขาว โคนกลีบมีจุดประสีม่วงเข้มเล็กน้อย โล่สีขาว รูปทรงคล้ายไต กึ่งกลางเป็นร่องและมีแต้มสีเหลืองเข้ม
ฤดูออกดอก เมษายน - สิงหาคม
ลักษณะนิสัย ปลูกเลี้ยงง่ายและออกดอกดก ชอบความชื้นสูง

นอกจากนี้ยังมีรองเท้านารีขาวสตูลที่คาดว่ามีถิ่นกำเนิดในเมืองไทยและเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่
1.รองเท้านารีขาวสตูลเผือก กลายพันธุ์จากรองเท้านารีขาวสตูล ดอกไม่มีจุดประเกิดขึ้น

2.รองเท้านารีช่องอ่างทอง
(Paphiopedilum x Ang-Tong) คาดว่าเป็นลูกผสมของรองเท้านารีขาวสตูลกับรองเท้านารีเหลืองตรังที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีการกระจายพันธุ์บริเวณหมู่เกาะอ่างทอง เกาะสมุย ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใต้ใบสเขียวหรือแดงเรื่อ มีดอกสีขาว และจุดประสีม่วงบนกลีบคล้ายรองเท้านารีขาวชุมพร แต่จุดประเล็กว่า

3.รองเท้านารีช่องอ่างทองเผือก กลายพันธุ์จากรองเท้านารีช่องอ่างทอง ดอกมีสีขาวล้วน

4. Paph. niveum 'Yooparat' x Paph. niveum 'Pratana' มีลักษณะทรง ต้น ใบ และดอกคล้ายรองเท้านารีขาวสตูลเผือก ต่างกันที่ใบอาจเป็นลายหรือมีสีเขียวทั้งใบ ดอกมีสีขาวทั้งดอก และไม่มีจุดประ

รองเท้านารีเชียงดาว
Paphiopedilum dianthum
          ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2483 ถิ่นกำเนิดอยู่บนดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้านารีเมืองกาญจน์ แต่กระเปาะของรองเท้านารีเชียงดาวกว้างกว่า กลีบนอกบนสีเขียว มีเส้นเขียว



รองเท้านารีเชียงดาว
Paphiopedilum dianthum
รองเท้านารีม่วงสงขลา
Paphiopedilum Callosum var sublaeve

รองเท้านารีม่วงสงขลา
Paphiopedilum Callosum var sublaeve
          ถิ่นกำเนิดอยู่ที่อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้านารีฝาหอย แต่ดอกมีสีม่วงเข้มกว่า


รองเท้านารีคางกบ
Paphiopedilum callosum
          ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2428 ถิ่นกำเนิดอยู่ทั้งภาคเหนือและภาคใต้ เช่น ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และบริเวณอ่าวไทยตามเกาะต่างๆ ลักษณะเด่น คือ คล้ายรองเท้านารีฝาหอย แต่แตกต่างตรงที่ปลายกลีบนอกบนของรองเท้านารีคางกบเรียวยาวแหลมกว่า ริมกลีบในเป็นคลื่นหรือพับม้วน กระเปาะมีเม็ดสีดำติดอยู่
ชื่ออื่น รองเท้านารีแมลงภู่(ลำปาง) เอื้องคางคก เอื้องคางกบ(เชียงใหม่)
สกุลย่อย Paphiopedilum
หมู่ Barbata
จำนวนโครโมโซม 2n=32
ถิ่นกำเนิด มีการกระจายพันธุ์ในลาว เวียดนาม กัมพูชา ไทย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล 700-950 เมตร
ลักษณะทั่วไป มีการเจริญเติบโตแบบพืชอาศัยบนดิน
ต้น มีพุ่มใบขนาด 18-20 เซนติเมตร
ใบ เป็นรูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 3-3.5 เซนติเมตร ยาว 15-18 เซนติเมตร แผ่นใบลายตารางสีเขียวเข็มสลับเขียวเทาหรือเป็นแต้มไม่ชัดเจนนัก กาบใบที่โคนต้นมีขนปกคลุมเล็กน้อย
ดอก เป็นดอกเดี่ยว มี 1-2 ดอกต่อต้น ก้านดอกตั้งตรงสีม่วงเข้ม ยาว 25-30 เซนติเมตร และมีขนปกคลุม เมื่อดอกบานเต็มที่มีขนาด 6-8 เซนติเมตร กลีบนอกบนบิดเล็กน้อย มีสีขาว และเส้นริ้วสีเขียวจำนวนมาก ปลายริ้วสีม่วง กลีบดอกชี้เป็นมุม 45 องศา กับแนวระนาบ มักบิดและห่อไปด้านหลัง โคนกลีบมีสีเขียวเรื่อ ขอบกลีบบนมีไฝสีน้ำตาลแดง 5-6จุดและมีขนยาวปกคลุม กระเป๋ามีสีม่วงแดงเรื่อ และเส้นร่างแหสีน้ำตาลแดง โล่สีขาวนวล รูปทรงคล้ายรูปเกือกม้า ขนาด 1 เซ็นติเมตรกึ่งกลางมีแต้มสีน้ำตาลเข้ม ด้านบนหยักเล็กน้อยและงุ้มมาข้างหน้า ด้านล่างหยักเป็นเขี้ยว
ฤดูออกดอก กรกฏาคม-สิงหาคม
ลักษณะนิสัย ชอบอากาศเย็น ปลูกเลี้ยงง่าย แตกหน่อเร็ว สามารถปลูกเป็นไม้กระถางในบ้าน
เนื่องจากรองเท้านารีคางกบมีการกระจายพันธุ์ทั่วไปในไทย ซึ่งมีลักษณะดอกที่ต่างกันเพียงเล็กน้อยและเกิดอีกหลายสายพันธุ์มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ดังนี้
1.รองเท้านารีคางกบลาว พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและลาว มีดอกป้อม กลีบดอกกว้าง ปลายกลีบค่อนข้างมน สีเข้ม และมีไฝน้อยกว่ารองเท้านารีคางกบที่พบในภาคเหนือของไทย
2.รองเท้านารีม่วงสงขลา (Paph.Barbatum) พบที่อำเภอรัตนภูมิ จังหวัดสงขลา กลับดอกมักมีไฝน้อย แต่สีเข็มกว่ารองเท้านารีคางกบ ออกดอกดกช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน และจัดว่าเป็นสายพันธุ์ที่หายากชนิดหนึ่งของไทย
3.รองเท้านารีคางกบภาคใต้หรือรองเท้านารีไทยแลนด์ พบตามชายฝั่งทะเลภาคใต้ของไทย ดอกมักมีขนาดเล็ก มีไฝจำนวนมากตามขอบกลีบและกึ่งกลางจนถึงปลายกลีบ มีสีเข้มกว่ารองเท้านารีคางกบ ออกดอกดกช่วงเดือน มีนาคม - เมษายน

รองเท้านารีคางกบ
Paphiopedilum callosum
รองเท้านารีคางกบคอแดง
Paphiopedilum Appletonianum
รองเท้านารีคางกบคอแดง
Paphiopedilum Appletonianum(Gower)Rolfe
ชื่อพ้อง :
Paphiopedilum wolterianum(Kraenzl.) Pfitzer
สกุลย่อย
Paphiopedilum
หมู่
Barbata
จำนวนโครโมโซม 2n=38
ถิ่นกำเนิด มีการกระจายพันธุ์ทางด้านตะวันออกของไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และทางตอนเหนือของจีน ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล 600 - 2000 เมตร
ลักษณะทั่วไป มีการเจริญเติบโตแบบพืชอาศัยบนดิน
ต้น มีพุ่มใบขนาด 10 - 15 เซนติเมตร
ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5 - 4เซนติเมตร ยาว 7 - 23 เซนติเมตร แผ่นเป็นลายหินอ่อนสีเขียวคล้ำสลับเขียวอ่อน โคนกาบใบมีสีม่วงเรื่อๆ และขอบใบงุ้มลง
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกตั้งตรงสีม่วง ยาว 17 - 60 เซนติเมตร และมีขนสั้นปกคลุม เมื่อดอกบานเต็มที่มีขนาด 3.5- 6.5เซนติเมตร กลีบนอกบนงุ้มมาด้านหน้า สีเขียว โคนกลีบมีเส้นริ้วสีน้ำตาลแดงเรื่อ กลีบดอกอยู่ในแนวระนาบ โคนกลีบห่อเล็กน้อย มีสีเขียวขอบกลีบย่น มีไฝสีน้ำตาลแดง 5 - 6 จุด กึ่งกลางถึงปลายกลีบสีชมพู กระเป๋ามีสีน้ำตาลแดงเรื่อขริบสีเขียวอมเหลือง โล่สีเหลืองอมเขียว รูปทรงคล้ายรูปไตขนาด 0.8 - 1 เซ็นติเมตร กึ่งกลางมีสีเขียวเข้ม ด้านล่างหยักเว้าเป็นเขี้ยว
ฤดูออกดอก มกราคม - มีนาคม
ลักษณะนิสัย ชอบความอากาศค่อนข้างเย็น แข็งแรง แตกหน่อได้ดี เมื่อกำลังออกดอกควรให้อยู่ในที่มีแสงรำไร จะช่วยให้สีดอกดูสดใสขึ้น
ปัจจุบันยังมีจำหน่ายตามตลาดกล้วยไม้ทางภาคเหนือในจังหวัดเชียงใหม่


รองเท้านารีคางกบภาคใต้หรือรองเท้านารีไทยแลนด์
PaphiopedilumThailandense
          พบตามชายฝั่งทะเลภาคใต้ของไทย ดอกมักมีขนาดเล็ก มีไฝจำนวนมากตามขอบกลีบและ กึ่งกลางจนถึงปลายกลีบ มีสีเข้มกว่ารองเท้านารีคางกบ ออกดอกดกช่วงเดือน มีนาคม - เมษายน
รองเท้านารีคางกบภาคใต้หรือรองเท้านารีไทยแลนด์
Paphiopedilum Thailandense
รองเท้านารีเมืองกาญจน์
Paphiopedilum parishii

รองเท้านารีเมืองกาญจน์
Paphiopedilum parishii
          ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2402 ถิ่นกำเนิดอยู่แถบจังหวัดกาญจบุรี และกำแพงเพชร เป็นกล้วยไม้อากาศเกาะอยู่ตามต้นไม้ มีลักษณะเด่น คือ มีกลีบในคู่บิดเป็นเกลียวเป็นสายยาวกว่ากลีบนอกประมาณสามเท่าตัว
ชื่ออื่น รองเท้านารีหนวดฤาษี
สกุลย่อย
Paphiopedilum
หมู่
Pardalopetalum
จำนวนโครโมโซม 2n=26
ถิ่นกำเนิด มีการกระจายพันธุ์ในพม่าตะวันตกเฉียงใต้ของจีนและทางทิศตะวันตกของไทยแถบเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล 1250 - 2200 เมตร
ลักษณะทั่วไป มีการเจริญเติบโตแบบพืชอาศัยตามซอกหิน หรือพืชอิงอาศัย
ต้น เจริญเป็นกลุ่ม มีพุ่มใบขนาด 30 - 35 เซนติเมตร เกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้
ใบ รูปขอบขนานา กว้าง 4 - 5 เซนติเมตร ยาว 28 - 35 เซนติเมตร แผ่นใบสีเขียวเป็นมัน
ดอก ออกเป็นช่อ มี 4 - 8 ดอกต่อช่อ ก้านช่อดอกสีเขียว ยาว 30 - 40 เซนติเมตรและมีขนนุ่มปกคลุม เมื่อดอกบานเต็มที่กว้าง 10 - 12 เซนติเมตร สูง 13 -15 เซนติเมตร กลีบนอกบนมีสีขาวนวล โคนกลีบสีเขียวอ่อน กลีบดอกบิดเป็นเกลียว โคนกลีบสีเขียวอมเหลือง มีแต้มสีม่วงแดงกึ่งกลางกลีบและมีสีน้ำตาลแดงจนถึงปลายกลีบ ขอบกลีบย่นเป็นคลื่นขลิบสีเขียวอ่อนและมีขนยาวปกคลุม กระเป๋าสีเขียวอมน้ำตาลแดงเรื่อ โล่สีเหลืองอ่อน กึ่งกลางสีเขียว
ฤดูออกดอก มิถุนายน - กรกฎาคม
ลักษณะนิสัย ต้องการความชื้นในอากาศสูงและเจริญเติบโตได้ในที่มีแสงน้อย


รองเท้านารีอ่างทอง
Paphiopedilum angthong
           ถิ่นกำเนิดอยู่ตามหมู่เกาะบริเวณอ่าวไทย เช่น หมู่เกาะอ่างทอง เกาะสมุย เป็นต้น ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ ปลายใบมน ด้านบนสีเขียวคล้ำประลาย ด้านใต้ท้องใบสีม่วงแก่ ก้านดอกยาวมีขน ดอกค่อนข้างเล็กขนาดไม่สม่ำเสมอ การประจุดกระจายจากโคนกลีบ พื้นกลีบดอกสีขาว กลีบค่อนข้างหนา
รองเท้านารีอ่างทอง
Paphiopedilum angthong

รองเท้านารีอินซิกเน่
Paphiopedilum Insigne

รองเท้านารีอินซิกเน่
Paphiopedilum Insigne
          พบทางตอนเหนือของอินเดีย มีกระจายพันธุ์ทางภาคเหนือของไทย ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และทางตะวันออกของเนปาล พบอยู่ตามพื้นหินที่มีซากใบไม้ผุพังทับถม ลักษณะ ใบกว้าง 2.3 ซม. ยาวประมาณ 35 ซม. ใบแข็งสีเขียว ดอกเดี๋ยว ขนาดดอก 7-10 ซม. ก้านดอกตั้งตรงยาวประมาณ 20-25 ซม. กลีบบนสีเหลืองอ่อนมีเส้นริ้วสีเขียวเรื่อ ขอบกลีบสีขาวและบิดเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบดอกรูปขอบขนานบิดเป็นคลื่นเล็กน้อย กระเป๋าสีเหลืองเป็นมัน ฤดูออกดอก ตุลาคม - ธันวาคม

Top