|
สกุลอะแคมเป
(
Acampe )
กล้วยไม้ชนิดต่างๆในสกุลนี้มีถิ่นกำเนิดกระจายตั้งแต่
ประเทศพม่า ประเทศจีนตอนใต้ ประเทศไทยลงไป ถึงแหลมมลายู สำหรับในประเทศไทยเริ่มจากภาคเหนือลงไปถึงภาคใต้
รวมทั้งภาคตะวันออก และตะวันตกลักษณะ ทรงต้นล่ำสัน แข็งแรง ใบค่อนข้างหนา
กลีบดอกหนา ดอกมีลักษณะคล้ายดอกกล้วยไม้ในสกุลแวนดอพซิส และ
สกุลเสือโคร่ง ดอกมีลักษณะคล้ายเสือโคร่งมาก แต่ไม่มีลิ้น หรืออวัยวะอื่นใดอย่ด้านหลังของปาก
บางชนิดมีมีทรงต้น ค่อนข้างใหญ่ แต่บางชนิดทรงต้นมีขนาดเล็ก
ปลายปากของดอกกล้วยไม้สกุลนี้ ขึ้นไปรวมกันอยู่ตรงปลายก้านช่อ
ถ้ามองจากด้านหน้าในขณะดอกกำลังบานอยู่กับต้นอาจรู้สึกเหมือนกลับหัว
กล้วยไม้สกุลอะแคมเปที่รู้จักคุ้นเคยกันค่อนข้างแพร่หลายมีอยู่อย่างน้อย
4 ชนิด ชนิดที่มีทรงต้นใหญ่ที่สุด และมีเรื่องราวปรากฏอยู่ในประวัติการศึกษาด้านพฤกษศาสตร์
คือ เอื้องดอกมะขาม ( Acampe
longifolia ) เป็นกล้วยไม้ที่มีลำต้นอ้วนล่ำ ใบใหญ่หนา
ใบยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้าง 3.5 เซนติเมตร ปลายใบกว้าง มีหยักเป็น
2 แฉกไม่เท่ากัน ช่อดอกตั้งและมีแขนงช่อสั้น ๆ 1 - 2 แขนง ดอกเบียดชิดกันอยู่ปลายช่อ
เมื่อดอกบานเต็มที่มองดูคล้ายดอกเพียงแย้ม และแหงนหน้าขึ้นข้างบน
ดอกมีสีเหลืองอมเขียว และมีลายขวางสีแดงเป็นระยะ ๆ กลีบดอกหนา
แต่ดอกโตเพียง 1 เซนติเมตร เท่านั้น นอกจากเอื้องดอกมะขามแล้วยังมีเอื้องตีนเต่า
( Acampe multiflorum ) เอื้องตีนตุ๊กแก
( Acampe papillosa ) รูปทรงตันมีขนาดเล็ก แต่แข็งแรง
ล่ำสัน และมีนิสัยแตกหน่อง่าย และอะแคมเป ออเครเซีย (
Acampe ochracea ) ซึ่งมีทรงต้นสูงโปร่ง และใบยาวกว่าเอื้องตีนตุ๊กแก
|
|