สกุลอะแคมเป Acampe
สกุลกุหลาบ Aerides
Arachnis Arachnis
Ascocentrum Ascocentrum
Bulbophyllum Bulbophyllum
Calanthe Calanthe
Cattleya Cattleya
Coelogyne Coelogyne
Cymbidium Cymbidium
Dendrobium Dendrobium
Doritis Doritis
Grammatophyllum Grammatophyllum
Habenaria
Paphiopedium Paphiopedilum
Phalaenopsis Phalaenopsis
Renanthera Renanthera
Rhynchostytis Rhynchostytis
Spathoglottis Spathoglottis
Trichoglottis Trichoglottis
Vanda Vanda
Vandopsis
Vandopsis

 

Vandopsis

สกุลแวนดอปซิส ( Vandopsis )

          เป็นกล้วยไม้ประเภทไม่แตกกอ แม้ว่ากล้วยไม้ภายในสกุลนี้มีเพียงไม่กี่ชนิด แต่ละชนิดกมีบทบาทในด้านการผสมพันธุ์ให้ลูกผสมที่มีลักษณะน่าสนใจมาก ได้มีผู้นำไปผสมพันธุ์เพื่อผลิตลูกผสมที่สวยงาม แหล่งกำเนิดของกล้วยไม้สกุลนี้อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นเขตร้อน

          ลักษณะทั่วไปของกล้วยไม้สกุลนี้คือ มีลำต้นแข็งแรง ใบหนา และแข็ง บางชนิดทรงต้นสูงใหญ่ แต่บางชนิดทรงต้นเตี้ย บางชนิดช่อดอกยาวมาก แต่ช่วงระหว่างดอกค่อนข้างห่าง บางชนิดช่อดอกสั้น และมีดอกค่อนข้างแน่น โดยทั่ว ๆ ไปกลีบดอกจะหนา และแข็งแรงมาก ดอกบานผึ่งผาย ส่วนของหูปากทั้งสองข้างเชื่อมต่อกับโคนเส้าเกสร หูปากเล็ก และแข็ง ในคอของปากระหว่างกลางหูปากทั้งสองข้างมีส่วนคล้ายลิ้นยื่นออกมา โคนแผ่นปากมีลักษณะเป็นสันนูนขึ้นมาจากด้านใต้ของลิ้น แผ่นปากค่อนข้างยาวเมื่อเทียบกับแผ่นปากจากดอกกล้วยไม้สกุลแวนด้า แข็ง และอวบน้ำ เส้าเกสรสั้น กลีบดอกทั้งกลีบชั้นนอก และกลีบชั้นในกว้าง มีขนาดและรูปร่างที่คล้ายคลึงกัน เกสรตัวผู้มี 2 คู่ ติดอยู่บนก้าน ซึ่งมีลักษณะเป็นเยื่อเหนียว กล้วยไม้ในสกุลแวนดอปซิสที่น่าสนใจ และมีบทบาทในด้านการผสมพันธุ์มีอยู่ 3 ชนิด คือ

1.เขาพระวิหาร ( Vandopsis Lissochiloides ) ต้นมีขนาดใหญ่ รูปทรงค่อนข้างสูง ช่อดอกอาจยาวได้ถึง 2 เมตร ช่วงระหว่างดอกค่อนข้างห่างกลีบดอกหนา สีดอกด้านหน้าพื้นสีเหลืองประจุดสีม่วงปนน้ำตาล พันธุ์ที่พบในประเทศไทย และเขมร ด้านหลังดอกมีสีขาว ส่วนพันธุ์ที่พบในฟิลิปปินส์หลังดอกมีสีม่วง สำหรับพันธุ์ที่อยู่ในประเทศไทยพบขึ้นบนเขาหินปูนบริเวณชายแดนติดต่อระหว่างไทยกับเขมร

2.พญาฉัตรทัณต์ ( Vandopsis gigantea ) เป็นกล้วยไม้ที่มีขนาดต้นค่อนข้างใหญ่ และมีรูปทรงล่ำสัน ช่อดอกไม่ยาว และมีดอกภายในช่อไม่มากนัก กลีบดอกหนามาก กลีบดอกพื้นมีสีเหลืองไม่สด ประจุดสีม่วงน้ำตาล เป็นชนิดที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ในภาคใต้ของไทย

3.เอื้องลิ้นกระบือ ( Vandopsis parishii ) ลักษณะทรงต้นเตี้ย ใบหนา ก้านช่อดอกค่อนข้างยาวถ้าเปรียบกับความสูงของต้น เป็นกล้วยไม้ชนิดที่มีขนาดต้นเล็กกว่าสองชนิดแรกมาก ช่วงระหว่างดอกบนก้านช่อค่อนข้างห่างกัน กลีบดอกหนา

 

Top