|
สกุลแกรมมาโตฟิลลัม
(Grammatophyllum)
สกุลแกรมมาโตฟิลลัม
แหล่งกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย และหมู่เกาะในตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิค
เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอที่มีระบบรากแบบรากอากาศ ลำลูกกล้วยเบียดชิดกัน
บางชนิดมีลำลูกกล้วยสั้น บางชนิดมีลำลูกกล้วยยาวมาก บางชนิดมีใบ
ติดอยู่ที่ปลายลำลูกกล้วยเพียง 2 - 3 ใบ แต่บากชนิดมีใบหลายใบ
ดอกออกเป็นช่อ และมีทั้งช่อตั้ง และช่อห้อย กลีบดอกหนา พื้นกลีบสีเหลือง
หรือเหลืองอมเขียว และมีแต้มสีน้ำตาลหรือสีม่วงแดง ลักษณะเด่นของกล้วยไม้สกุลนี้อีกอย่างหนึ่งคือ
รากมีจำนวนมากเกาะกันแน่น และแตกแขนงที่ปลาย ปลายรากจะชึ้ขึ้นด้านบน
หรือ ชี้ออกด้านข้าง แทนที่จะหยั่งลงด้านล่าง
กล้วยไม้สกุลนี้
พบแล้ว 8 ชนิดกระจายอยู่ตามมาเลเซีย สุมาตรา ฟิลิปปินส์ และประเทศไทยสำหรับประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว
และเป็นชนิดที่มีต้นใหญ่โต ต้นถือว่าเป็นราชินีกล้วยไม้ และเป็นกล้วยไม้ที่มีขนาดใหญ่โตที่สุดในโลก
คือ แกรมมาโทฟิลลั่ม สเปสิโอซัม
( Grammatophyllum speciosum
) ซึ่งคนไทยนิยมเรียกกันว่า เอื้องเพชรหึง หรือว่านเพชรหึง หรือว่านหางช้าง
สำหรับชื่อว่านหางช้างนั้นเรียกตามลักษณะลำลูกกล้วยซึ่งยาว และมีใบติดอยู่ที่ปลายหลายใบคล้ายกับหางของช้างที่ชี้ปลายหางขึ้น
กล้วยไม้ชนิดนี้มีขนาดต้น และช่อดอกสูงใหญ่มาก มีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศต่าง
ๆ ในเขตร้อนของทวีปเอเชียรวมทั้งประเทศไทย เคยพบว่าก้านช่อยาวแข็งตั้งวัดได้
2 เมตรกว่า พื้นดอกสีเขียวอมเหลืองอ่อน ๆ ประจุดสีดำจุดใหญ่
ๆ ในแต่ละช่อมีดอกมากกว่า 50 ดอก แต่ละช่อมีดอกออกโดยรอบจากส่วนครึ่งปลายของช่อ
ในภาคใต้ของประเทศไทยพบขึ้นอยู่กับต้นตาลกลางแจ้ง กอใหญ่มาก
ในภาคเหนือแถบจังหวัดพิษณุโลก และกาญจนบุรีพบขึ้นอยู่บนก้อนหินใหญ่ในป่า
กล้วยไม้ชนิดนี้
มีรูปทรงของต้นและใบสวยงาม ต้นใหญ่เป็นสง่า อาจปลูกกับพื้นดินได้
จึงเหมาะกับการปลูกประดับ อาคารหรือสถานที่
|
|