วัสดุปลูก
และภาชนะปลูกกล้วยไม้
วัสดุปลูก
( media ) และภาชนะปลูก ( containers )
กล้วยไม้มีความจำเป็นสำหรับใช้ห่อหุ้มส่วนของราก
และมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของระบบราก รากทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ
และแร่ธาตุ
( translocation )
ไปยังส่วนของลำต้นเพื่อให้ต้นเจริญเติบโต และพัฒนาออกดอก
และให้ผล (ฝัก)
นอกจากนี้ กล้วยไม้ประเภทรากอากาศ และกึ่งอากาศ
( epiphyte ) มีหน้าที่
แตกต่างจากพืชตระกูลอื่น ๆ กล่าวคือ เซลรากกล้วยไม้มีคลอโรฟิลล์
(chlorophylls) จึงสามารถสร้างอาหารเองได้โดยวิธีการสังเคราะห์แสง
( photosynthesis
) อาหารที่รากสร้างขึ้นจะนำไปใช้ในกระบวนการต่าง
ๆ (metabolism)
ในส่วนของรากเองและส่วนอื่น
ๆ ที่ไม่มีการสังเคราะห์แสง
วัสดุปลูก
หรือเครื่องปลูก
มีหน้าที่ให้รากเกาะยึด เพื่อให้ลำต้นตั้งตรง ไม่โอนเอนหรือล้ม
วัสดุปลูกยังทำหน้าที่ สำหรับเก็บความชื้น และธาตุอาหาร
เพื่อให้รากดูดไปใช้ ขณะเดียวกันวัสดุปลูก ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระบายน้ำ
และการถ่ายเทอากาศรอบ ๆ ระบบราก การพิจารณาเลือกวัสดุปลูก
ต้องคำนึงถึงคุณสมบัติดังนี้
- ช่วยให้ระบบรากและต้นกล้วยไม้เจริญงอกงามดี
- หาได้ง่าย
- ราคาไม่แพงนักหรือราคาเหมาะสม
- ทนทานไม่ย่อยสลายเร็วเกินไป
- ปราศจากสารพิษเจือปน
- สะดวกต่อการใช้ปลูก
ชนิดและคุณสมบัติของวัสดุปลูกที่ใช้ต้องคำนึงถึงลักษณะการเจริญเติบโตของต้นกล้วยไม้
ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. กล้วยไม้รากอากาศ
และกึ่งอากาศ
( epiphytes ) กล้วยไม้ประเภทนี้ต้องการวัสดุปลูกที่มีการถ่ายเทอากาศ
และการระบายน้ำที่ดี โดยเฉพาะกล้วยไม้รากอากาศซึ่งมีรากขนาดใหญ่
ได้แก่ กล้วยไม้สกุลแวนด้า
( Vanda spp. ) สกุลช้าง
( Rhynchostylis spp. ) สกุลเข็ม
( Ascocentrum spp. ) สกุลกุหลาบ (
Aerides spp. ) ฯลฯ กล้วยไม้พวกนี้ต้องการการถ่ายเทอากาศ
และการระบายน้ำที่ดีมาก กล่าวคือ ขนาดวัสดุปลูกต้องมีขนาดใหญ่และไม่อุ้มน้ำมากนัก
และถ้าสามารถรดน้ำได้ บ่อยๆ หรือบริเวณที่ปลูกเลี้ยงมีความชื้นสูงพอก็ไม่ต้องใช้วัสดุปลูก
วัสดุปลูกที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ได้แก่
1.1
ออสมันด้า เป็นรากเฟิร์นสกุลออสมันด้า
( Osmunda spp. ) มีลักษณะเป็นเส้นฝอย
( fiber ) มีข้อดี คือ มีการถ่ายเทอากาศและการระบายน้ำดีมากแม้ว่าจะอัดแน่น
จึงไม่มีปัญหาเรื่องให้น้ำมากเกินไป เก็บน้ำได้ดีประมาณ
140% ของน้ำหนักตัวเอง มีธาตุอาหารเป็นองค์ประกอบซึ่งรากกล้วยไม้สามารถจะดูดไปใช้ได้และมีน้ำหนักเบา
จึงสะดวกในการเคลื่อนย้าย แต่มีข้อเสียคือ หาได้ยาก
ราคาแพง และใช้งานยากเนื่องจากต้องตัดแยกเสียเวลานาน
ออสมันด้าใช้ได้ดีกับกล้วยไม้รากอากาศและกึ่งอากาศทุกชนิด
แต่เนื่องจากมีราคาแพงมากจึงมักนิยมใช้กับกล้วยไม้ที่มีราคาแพง
และต้นกล้าของกล้วยไม้รากอากาศ ซึ่งรากมีขนาดใหญ่และต้องการการถ่ายเทอากาศ
และการระบายน้ำที่ดี
1.2
ถ่าน เป็นวัสดุปลูกที่ได้จากการเผาไม้เนื้อแข็งมีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบไม่มีแร่ธาตุอื่น
ๆ เมื่อนำมาใช้เป็นวัสดุปลูกจึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยให้ครบถ้วน
ถ่านไม่ย่อยสลายมีน้ำหนักเบา ไม่มีปัญหาเรื่องรดน้ำเนื่องจากมีการระบายน้ำดี
ถ่านเป็นวัสดุปลูกที่มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของราก
และต้นกล้วยไม้รองจากออสมันด้า แต่มีข้อที่ดีกว่าคือ
ราคาไม่แพงนัก และสะดวกในการใช้ปลูก ถ่านที่ใช้จะทุบให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง
0.5-2 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของราก ถ้ารากมีขนาดเล็กก็ใช้ถ่านที่มีขนาดเล็ก
1.3
กาบมะพร้าว เป็นวัสดุปลูกที่มีราคาถูกและหาได้ง่าย
จึงนิยมใช้ในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะเพื่อการค้า
ข้อเสียของกาบมะพร้าวคือ ถ้ารดน้ำมากเกินไปกาบมะพร้าวจะอุ้มน้ำไว้มาก
และอาจทำให้รากเน่าได้ง่าย นอกจากนี้ กาบมะพร้าวย่อยสลายเร็วจึงต้องเปลี่ยนวัสดุปลูกบ่อย
ๆ การปลูกด้วยกาบมะพร้าวสามารถตัดขนาดต่าง ๆ ได้ตามต้องการ
จึงไม่จำเป็นต้องใส่ในภาชนะปลูกอีกทีหนึ่ง รูปร่างและขนาดของกาบมะพร้าวที่ใช้มีดังนี้
1.3.1
ลูกอัดกาบมะพร้าวขนาดประมาณ
1 นิ้ว ใช้ปลูกลูกกล้วยไม้ที่เพิ่มเอาออกจากขวดหรือจากกระถางหมู่
1.3.2
ลูกอัดกาบมะพร้าวขนาดประมาณ
4 นิ้ว และใช้ลวดรัดไว้กับต้นที่โตพร้อมจะออกดอกหรืออาจจะใส่ลงกระถางขนาด
4 นิ้วอีกทีหนึ่ง
1.3.3
กาบมะพร้าว ใช้วางบนโต๊ะแล้วเอาต้นกล้วยไม้วางข้างบน
อาจจะเจาะรูบนกาบมะพร้าวเพื่อฝังต้นไม่ให้ล้ม หรือใช้เลือก
ลวด หรือสายโทรศัพท์ ขึงเป็นแนวยาวตามความยาวงโต๊ะแล้วใช้ลวดรัดต้นกับเชือก
วิธีนี้มักใช้ในการปลูกกล้วยไม้สกุลหวายเพื่อตัดดอก
1.3.4
กระบะกาบมะพร้าวขนาด 24x32
ตารางเซนติเมตร ใช้กับต้นที่โตพอสมควรแต่ละกระบะจะปลูกได้
4-5 ต้น แล้วางกระบะลงบนโต๊ะให้แต่ละกระบะมีระยะห่างพอสมควร
วิธีนี้ใช้ในการปลูกกล้วยไม้สกุลหวายเพื่อตัดดอก
1.4
อิฐหักหรือกระถางแตก
เก็บความชื้นได้ดี ไม่ย่อยสลายแต่มีน้ำหนักมาก ทำให้ใช้แรงงานมากในการปลูกและการเคลื่อนย้าย
นอกจากนี้ถ้าตั้งต้นกล้วยไม้บนโต๊ะหรือแขวนบนราว
โครงสร้างของโต๊ะที่วางหรือราวที่ใช้แขวนต้องมีความแข็งแรงมากกว่าการใช้ออสมันด้าหรือถ่าน
ซึ่งทำให้ต้นทุนโครงสร้างสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องตะไคร่น้ำขึ้นที่ผิววัสดุปลูกและรากกล้วยไม้
ถ้าบริเวณที่ปลูกมีความชื้นสูงมากทำให้ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของรากลดลง
กล้วยไม้จึงไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ดังนั้นวัสดุปลูกพวกนี้จึงมักใช้กับกล้วยไม้ที่ตั้งอยู่บนพื้นดินเป็นแปลงใหญ่เพื่อช่วยระบายน้ำ
1.5
โฟม เป็นวัสดุเหลือใช้ที่ใช้ห่อหุ้มสินค้า
ตัดให้มีขนาดพอเหมาะแล้วใส่ในกระถางแทนวัสดุปลูกอื่น
ๆ มีผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ใช้โฟมเป็นวัสดุปลูกปรากฏว่าการเจริญเติบโตไม่แตกต่างจากการใช้วัสดุปลูกอื่น
ข้อดีของโฟมคือ มีน้ำหนักเบา ไม่อุ้มน้ำแต่ช่องว่างระหว่างก้อนโฟมสามารถเก็บความชื้นได้ดี
มีความยืดหยุ่นทำให้ยืดต้นได้ดีไม่โอนเอน และรากสามารถแทงผ่านก้อนโฟมได้
นอกจากนี้มีราคาถูกมาก หรืออาจจะได้เปล่าและช่วยลดปริมาณขยะจากโฟม
2. กล้วยไม้ดิน
( terestrials ) พบขึ้นอยู่ตามพื้นดินที่ปกคลุมด้วยอินทรีย์วัตถุ
( organic matter ) ดังนั้น วัสดุปลูกที่ใช้
คือ ดินร่วนผสมปุ๋ยอินทรีย์และอาจมีถ่านหรืออิฐหักปนบ้างเพื่อให้มีการระบายน้ำที่ดีขึ้น
ภาชนะปลูก
ภาชนะปลูกกล้วยไม้ควรจะมีขนาดเหมาะสมกับต้นกล้วยไม้กล่าวคือ
ถ้าต้นมีขนาดเล็กต้องใช้ภาชนะขนาดเล็ก ถ้าใช้ภาชนะที่ใหญ่เกินไปต้นจะเน่าแฉะตาย
เนื่องจากการระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศไม่ดี นอกจากนี้ถ้าต้นเล็กปลูกในภาชนะขนาดเล็กจะออกดอกเร็วกว่าการปลูกในภาชนะขนาดใหญ่
หลังจากปลูกเลี้ยงกล้วยไม้หลาย
ๆ ปี ควรจะเปลี่ยนวัสดุปลูก และภาชนะปลูกใหม่ เนื่องจากต้นกล้วยไม้อาจจะเจริญเติบโตล้นกระถางออกมา
หรือวัสดุปลูกเก่าผุ มีตะไคร่ขึ้นอาจจะสะสมโรคและแมลง
ทำให้ต้นกล้วยไม้เจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร ถ้าได้เปลี่ยนใหม่จะเจริญเติบโตดีขึ้น
สำหรับกล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลช้าง และสกุลฟาแลนน๊อปซิส
ไม่ควรตัดรากเก่าและไม่ให้รากหัก เพราะจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต
ดังนั้นกล้วยไม้กลุ่มนี้จึงไม่ควรเปลี่ยนกระถาง
แต่ควรใส่ซ้อนลงในกระถางใหม่ที่ใหญ่ขึ้น
ชนิดของภาชนะปลูกจำแนกได้ดังนี้
1. ปลูกเลี้ยงแบบธรรมชาติ
กล้วยไม้รากอากาศ และกึ่งอากาศสามารถปลูกโดยมัดรากให้เกาะกับเปลือกท่อนไม้
หรือใช้หมากฝรั่งที่รับประทานแล้วติดลำต้นกับเปลือกท่อนไม้ซึ่งสะดวกและอยู่ได้อย่างถาวร
กิ่ง หรือลำต้นหลังจากปลูกต้องรดน้ำให้ชื้นเสมอ
หรือปลูกในช่วงฤดูฝน เพียง 2-3 เดือนรากก็จะเจริญยืดยาวไปตามเปลือกไม้
และเกาะยึดแน่น จากนั้นจึงเอาเชือกหรือลวดที่รัดรากไว้ออก
สำหรับกล้วยไม้ดินก็สามารถปลูกในแปลงดินได้แต่ต้องดูเรื่องการระบายน้ำ
และสามารถควบคุมการให้น้ำได้ เนื่องจากในช่วงพักตัวจะไม่ต้องการน้ำ
นอกจากนี้มีการเลี้ยงแบบปล่อยให้เกาะอยู่ตามต้นไม้ที่มีชีวิต
โดยอาจใช้กาบมะพร้าวหุ้มรากให้ติดกับต้นไม้ การเลี้ยงแบบนี้จะต้องเลือกต้นไม้ให้กับกล้วยไม้
คือ ต้นไม้ที่จะให้กล้วยไม้เกาะจะต้องเป็นไม้ใหญ่ที่มีผิวหรือเปลือกที่มีคุณสมบัติไม่ลื่นเป็นมัน
และสามารถดูดความชื้นได้ดีพอสมควร
|
ต้นไม้ใหญ่
|
|
|
ท่อนไม้ที่มีเปลือก
|
|
2.กระเช้า
กระเช้าไม้
ควรใช้กระเช้าไม้สักเนื่องจากมีความคงทนกว่าไม้ชนิดอื่น
ขนาดของกระเช้าก็เลือกให้เหมาสมกับขนาดของต้น กระเช้าไม้เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ
เนื่องจากมีความโปร่งจึงระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศดี
อาจใช้ถ่านทุบใส่เป็นวัสดุปลูกเพื่อเก็บความชื้น
แต่ถ้าบริเวณที่ปลูกเลี้ยงมีความชื้นเพียงพอ ก็ไม่จำเป็นต้องใส่วัสดุปลูกเลย
ส่วนกล้วยไม้รากกึ่งอากาศเช่น สกุลหวาย
( Dendrobium spp. )
ประเภทแคทลียา
( Cattleya alliance ) และสกุลออนซิเดียม
( Oncidium
spp. ) สามารถปลูกในกระเช้าไม่ได้เช่นกัน
แต่ต้องมีถ่านทุบใส่เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นบริเวณราก
ในปัจจุบันมีการผลิตกระเช้าพลาสติกมีสีสันให้เลือกหลายสี
และมีรูปร่าง และขนาดใกล้เคียงกับกระเข้าไม้ ซึ่งก็สามารถใช้เป็นภาชนะปลูกได้ดี
แต่ความคงทนขึ้นอยู่กับคุณภาพของพลาสติก
กระเช้าพลาสติก
เป็นกระเช้าที่ทำจากพลาสติกสีดำ
ราคาถูก มีหลายแบบ หลายขนาด แต่ที่นิยมใช้มี 2 ขนาด
คือ ขนาดทรงเตี้ยใช้ปลูกกล้วยไม้แวนด้า และ ขนาดทรงสูงใช้ปลูกกล้วยไม้หวาย
ลักษณะการปลูกเช่นเดียวกับกระถางดินเผาทรงเตี้ยและกระถางดินเผาทรงสูง
|
กระเช้าไม้สัก
|
|
|
กระเช้าพลาสติก
|
|
3. กระถางดินเผา
กระถางที่ใช้กับกล้วยไม้รากอากาศและกึ่งอากาศจะมีการเจาะรูด้านล่างและด้านข้าง
เพื่อการระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศรอบ ๆ วัสดุปลูกขนาดของกระถางที่ใช้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่
1.5 นิ้ว 2 นิ้ว 3 นิ้ว 4 นิ้ว 5 นิ้ว และใหญ่กว่านี้
นอกจากนี้ยังมีกระถางทรงสูงและทรงเตี้ย วัสดุปลูกที่นิยมใช้กับกระถางดินเผา
คือ ถ่านทุบ ออสมันด้า และกาบมะพร้าว ส่วนกล้วยไม้ดินจะปลูกในกระถางดินเผาที่ใช้ปลูกต้นไม้ทั่ว
ๆ ไป ซึ่งกระถางจะเจาะรูระบายน้ำเฉพาะที่ก้นกระถาง
ในปัจจุบันมีการผลิตกระถางพลาสติกมีสีสันให้เลือกหลายสี
และมีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงกับกระถางดินเผา ซึ่งก็สามารถใช้เป็นภาชนะปลูกได้ดี
แต่ความคงทนขึ้นอยู่กับคุณภาพของพลาสติก
|
กระถางดินเผาทรงเตี้ย
|
|
กระถางดินเผาทรงเตี้ย
เป็นกระถางดินเผาขนาดปากกว้าง
4-6 นิ้ว สูง 2-4 นิ้ว เจาะรูที่ก้น และรอบกระถาง
เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า
สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง การปลูกไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องปลูกใดๆ
หรืออาจใส่ถ่านไม้ มะพร้าวสับ วางให้โปร่งก็พอ
วางต้นกล้วยไม้กลางกระถางแล้วใช้เชือกหรือลวดเส้นเล็กๆ
ผูกติดกับก้นกระถาง
|
|
กระถางดินเผาทรงสูง
|
|
กระถางดินเผาทรงสูง
เป็นกระถางดินเผาขนาดปากกว้าง
3-4 นิ้ว สูง 4-5 นิ้ว เจาะรูที่ก้น และรอบกระถางแต่รูน้อยกว่ากระถางทรงเตี้ย
เหมาะกับกล้วยไม้ที่ต้องการเครื่องปลูกหรือกล้วยไม้รากกึ่งอากาศ
เช่น คัทลียา หวาย โดยปลูกด้วยกาบมะพร้าวอัดเรียงตามแนวตั้งจนแน่น
ยึดรากและโคนกล้วยไม้ตรงกลางกระถางให้แน่น
|
|
กระถางดินเผามีรูก้นกระถาง
|
|
กระถางดินเผามีรูก้นกระถาง
เป็นกระถางดินเผาชนิดเดียวกับที่ใช้ปลูกต้นไม้ทั่วไป
มีรูระบายน้ำอยู่ที่ก้นกระถางเพียงรูเดียว
ทั้งแบบทรงสูงทั่วไป และแบบทรงเตี้ย มีขนาดตั้งแต่
4-10 นิ้ว นิยมใช้ปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากกึ่งดิน
เช่น กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี สกุลเอื้องพร้าว
สกุลคูลู และสกุลสเปโธกล๊อตติส
|
4. กาบมะพร้าว
สามารถนำมาเป็นวัสดุปลูกได้หลายรูปแบบ โดยตัดเป็นรูปต่าง
ๆ ตามความต้องการ หรืออาจจะใช้ลูกมะพร้าวทั้งลูก
|