ลักษณะทั่วไปของกล้วยไม้
กล้วยไม้เป็นพืชที่จัดอยู่ใน
order Orchidales ซึ่งใน order นี้มีเพียง 4 family
สำหรับกล้วยไม้จัดอยู่ใน family Orchidaceae พืชในวงศ์
(family) นี้มีอยู่ประมาณ 753 สกุล (genus) ในแต่ละสกุลยังแบ่งออกเป็นชนิดต่าง
ๆ รวมแล้วมีประมาณ 30,000 ชนิด (species) สำหรับในประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของกล้วยไม้มากถึง
155 สกุล (genus) ส่วนที่พบและจำแนกแล้วมีถึง
1,100 ชนิด (species)
กล้วยไม้เป็นพืชที่มีส่วนต่างๆ สมบูรณ์ คือ มีราก
ต้น ใบ ดอก และผล รากของกล้วยไม้ไม่มีรากแก้ว
ลำต้นไม่มีแก่นไม้ ใบจัดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีเส้นใบขนานกันตามความยาวของใบ
ซึ่งมีรายละเอียดของส่วนต่างๆ ดังนี้
ราก
รากของกล้วยไม้ไม่มีระบบรากแก้ว
รากมีหน้าที่ดูดความชื้นจากอากาศ ดูดอาหารจากเครื่องปลูก
รากบางชนิดมีสีเขียวซึ่งมีคลอโรฟีลล์ มีหน้าที่ปรุงอาหารได้ด้วย
นอกจากนี้รากยังมีหน้าที่เกาะเครื่องปลูก เกาะต้นไม้
เพื่อให้ลำต้นทรงตัวอยู่ได้ รากของกล้วยไม้มีหลายประเภท
คือ รากดิน รากกึ่งดิน รากกึ่งอากาศ และรากอากาศ
รากแต่ละประเภทจะมีอยู่ในกล้วยไม้สกุลต่าง ๆ เพราะฉะนั้นผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ควรได้พิจารณาตัดสินใจเลือกใช้เครื่องปลูก
และภาชนะปลูกที่มีลักษณะ และคุณสมบัติเหมาะสมกับประเภทของรากด้วย
|
|
ระบบรากดิน
จัดเป็นกล้วยไม้ที่มีระบบรากเกิดจากหัวที่อวบน้ำอยู่ใต้ดิน
ตัวรากจะมีน้ำมาก เช่นกล้วยไม้สกุลนางอั้ว
กล้วยไม้ประเภทนี้พบมากบริเวณพื้นที่ที่มีสภาพอากาศในฤดูกาลที่ชัดเจน
เช่น ฤดูฝนมีฝนตกชุก และมีฤดูแล้ง เมื่อถึงฤดูฝนหัวจะแตกหน่อใบอ่อนจะชูพ้นขื้นมาบนผิวดิน
และออกดอกในตอนปลายฤดูฝน เมื่อพ้นฤดูฝนไปแล้วใบก็จะทรุดโทรมและแห้งไป
คงเหลือแต่หัวที่อวบน้ำ และมีอาหารสะสมฝังอยู่ใต้ดินสามารถทนความแห้งแล้งได้
|
|
ระบบรากกึ่งดิน
มีรากซึ่งมีลักษณะ
อวบน้ำ ใหญ่หยาบ และแตกแขนงแผ่กระจายอย่างหนาแน่น
สามารถเก็บสะสมน้ำได้ดีพอสมควร กล้วยไม้ประเภทนี้พบอยู่ตามอินทรีย์วัตถุที่เน่าเปื่อย
ผุพังร่วนโปร่ง กล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งดิน
ได้แก่ กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี สกุลสเปโธกล๊อตติส
สกุลเอื้องพร้าว เป็นต้น
|
|
|
![](../Images/Other/or2_51.jpg) |
ระบบรากกึ่งอากาศ
|
|
ระบบรากกึ่งอากาศ
เป็นระบบรากที่มีเซลล์ผิวของราก
มีชั้นเซลล์ที่หนา และมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ
ผิวนอกเกลี้ยงไม่มีขน มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ
เก็บ และดูดน้ำได้มาก สามารถนำน้ำไปใช้ตามเซลล์ผิวได้ตลอดความยาวของราก
ระบบรากกึ่งอากาศมักมีรากแขนงใหญ่หยาบอยู่กันอย่างหนาแน่น
ไม่มีรากขนอ่อน รากมีขนาดเล็กกว่ารากอากาศ
กล้วยไม้ระบบรากกึ่งอากาศได้แก่ กล้วยไม้สกุลแคทลียา
สกุลออนซิเดี้ยม เป็นต้น
|
|
ระบบรากอากาศ
กล้วยไม้ที่มีระบบรากเป็นรากอากาศ
จะมีรากขนาดใหญ่ แขนงรากหยาบ เซลล์ที่ผิวรากจะทำหน้าที่ดูดน้ำ
เก็บน้ำและนำน้ำไปตามรากได้เป็นอย่างดี
ทำให้สามารภทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี รากอากาศไม่ชอบอยู่ในสภาพเปียกแฉะนานเกินไป
นอกจากนั้นปลายรากสด มีสีเขียวของคลอโรฟีลล์สามารถทำหน้าที่ปรุงอาหารได้เช่นเดียวกับใบเมื่อมีแสงสว่าง
เพราะฉะนั้นรากประเภทนี้จึงไม่หลบแสงสว่างเหมือนรากต้นไม้ดินทั่วๆ
ไป กล้วยไม้ที่มีระบบรากอากาศได้แก่ กล้วยไม้สกุลแวนด้า
สกุลช้าง สกุลกุหลาบ สกุลแมลงปอ สกุลเข็ม
และกล้วยไม้สกุลเรแนนเธอร่า
|
![](../Images/Other/or2_61.jpg) |
ระบบรากอากาศ
|
|
ลำต้น
หมายถึงส่วนที่เป็นข้อ
บริเวณส่วนเหนือข้อ และติดอยู่กับข้อจะมีตา
ตาอาจจะแตกเป็นหน่ออ่อน กิ่งอ่อน หรือช่อดอกก็ได้
ส่วนที่เป็นข้อเป็นส่วนที่มีใบ กาบใบ หรือกาบของลำต้นที่ไม่มีส่วนของใบเจริญออกมาได้
ส่วนที่อยู่ระหว่างข้อเรียกว่า ปล้อง สำหรับลำต้นของกล้วยไม้ที่โผล่พ้นจากเครื่องปลูกแบ่งได้
2 ประเภท คือ ลำต้นแท้ และลำต้นเทียม
|
|
|
ลำต้นแท้
|
ลำต้นเทียม
|
คือลำต้นที่มี
ข้อ ปล้อง เหมือนกับลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั่วไป
ที่ส่วนเหนือข้อจะมีตา ซึ่งสามารถเจริญเป็นหน่อใหม่
และช่อดอกได้ ลำต้นประเภทนี้จะเจริญเติบโตออกไปทางยอด
ได้แก่ กล้วยไม้สกุลแวนด้า แมลงปอ
และรองเท้านารี
|
![](../Images/Other/or2_71.jpg) |
ลำต้นแท้
|
|
|
หรือที่เรียกว่า
ลำลูกกล้วย ทำหน้าที่สะสมอาหาร
ตาที่อยู่ตามข้อบน ๆ ของลำลูกกล้วยสามารถแตกเป็นหน่อ
หรือช่อดอกได้ แต่ลำต้นที่แท้จริงของกล้วยไม้ประเภทนี้
คือ เหง้า ซึ่งเจริญในแนวนอนไปตามผิวของเครื่องปลูก
ลักษณะของเหง้ามีข้อ และปล้องถี่
กล้วยไม้ที่มีลำต้นลักษณะนี้ ได้แก่
กล้วยไม้สกุลหวาย แคทลียา เอพิเด็นดรั้ม
และสกุลออนซิเดี้ยม
|
|
|
|
ใบ
กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
คือเส้นใบจะอยู่ในลักษณะขนานกันไปตามความยาวของใบ
ใบของกล้วยไม้มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามชนิดของกล้วยไม้
นับตั้งแต่รูปร่าง สีสัน ขนาด และการทรงตัวตามธรรมชาติ
ลักษณะใบของกล้วยไม้มีหลายชนิด เช่น ใบแบน
ใบกลม และใบร่องซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างพวกใบกลมกับใบแบน
แต่ใบกล้วยไม้ส่วนมากแล้วจะมีลักษณะแบน
การเรียงตัวจะมีทั้งเรียงสลับกัน และเรียงซ้อนทับกัน
สีของใบส่วนมากมีสีเขียวอมเหลืองบางชนิดใบมีสีสันลวดลายสวยงาม
หน้าที่ของใบ คือ สังเคราะห์แสง โดยสารสีเขียวเรียกว่าคลอโรฟีลล์ที่อยู่ภายในใบร่วมกับแสงสว่าง
ช่วยให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศผ่านเข้าไปทางรูถ่ายก๊าซของใบ
ทำปฏิกิริยากับน้ำเกิดเป็นน้ำตาล นอกจากนี้ใบยังทำหน้าที่คายน้ำออกจากต้น
ช่วยให้รากสามารถดูดน้ำ และอาหารเข้าสู่ต้น
เป็นการแทนที่น้ำที่ระเหยออกจากใบ ทำให้ต้นได้อาหาร
หรือปุ๋ยผ่านเข้าทางรากได้
![](../Images/Other/or2_leave1.jpg)
|
ใบของกล้วยไม้มีลักษณะแตกต่างกันตามสายพันธุ์
เช่น กล้วยไม้ในสกุลสแพโตกล๊อตทิส
(Spathoglottis) มีลักษณะใบเป็นจีบ
กล้วยไม้พญาไร้ใบ (Chiloschista
usneoides LDL) มีลักษณะใบที่เล็กมากเกาะอยู่ตามกิ่งไม้ในที่ค่อนข้างร่ม
มีรากหนาแน่นสีเขียว สามารถปรุงอาหารได้
ใบจึงเจริญออกมามีขนาดใหญ่กว่าหัวเข็มหมุดเล็กน้อย
กล้วยไม้รองเท้านารี (Paphilopedilum)
ลักษณะใบมีสีสรรงดงามหลายชนิดมีใบสีเขียวแก่สลับเขียวอ่อน
กล้วยไม้ (Anoectochilus siamensis)
ลักษณะใบมีสีน้ำตาลอมแดง และมีลายหรือกระสีขาวสวยงามมาก
|
|
ช่อดอก
(Inflorescence)
มีลักษณะแตกต่างกันไปอย่างกว้างขวา
แล้วแต่สกุล และชนิดของกล้วยไม้
บางชนิดมีก้านช่อสั้นมาก บางชนิดมีก้านช่อยาว
บางชนิดมีช่อดอกตั้งแข็ง ( Erect
) บางชนิดมีช่อดอกลักษณะโค้ง หรือห้อยหัวลง
เช่น ช่อดอกกล้วยไม้ไอยเรศ ( Rhynchostylis
retusa ) กล้วยไม้บางชนิดมีช่อดอกยาว
และมีแขนงแยกออกไปอีก เช่น ช่อดอกกล้วยไม้ในสกุลเรแนนเธอร่า
( Renanthera ) ก้านซึ่งเป็นแกนกลางของช่อดอกจะประกอบด้วย
ข้อ และปล้อง ช่อดอกของกล้วยไม้บางชนิ
ดมีตาซึ่งอยู่ตามข้อของก้านที่เป็นแกนช่อสามารถแตก
และเจริญออกมาเป็นต้นกล้วยไม้เล็กๆ
ได้ เช่น ก้านช่อของกล้วยไม้สกุลฟาแลนด์น๊อฟซิส
เป็นต้น
ก้านช่อดอกเป็นส่วนที่อยู่ชิดกับลำต้น
หรือลำลูกกล้วยออกไปถึงดอกแรก หรือดอกที่อยู่ใกล้โคนช่อมากที่สุด
ช่อดอกชนิดที่มีลักษณะส่งก้านยาวโดยไม่แตกแขนงเรียกว่า
เรซีม (Receme) ส่วนช่อดอกชนิดที่มีลักษณะแตกแขนง
เรียกว่า แพนนิเคิ้ล (Panicle)
กล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโต และรูปทรงอยู่ในประเภทไม่แตกกอนั้นช่อดอกเกิดจากตาที่อยู่เหนือข้อของลำต้นทางด้านข้างลำต้น
หากลำต้นที่มีกาบใบห่อหุ้มอยู่ช่อดอกก็จะเจริญ
และแทงผ่านกาบใบออกมา กล้วยไม้ประเภทแตกกอบางชนิดที่มีใบชิดกัน
หรือเรียงซ้อนกันถี่มากอาจจะดูคล้ายช่อดอกแทงออกมาจากในของโคนใบ
เช่น แวนด้าใบแบน สำหรับดอกของกล้วยไม้ประเภทแตกกอช่อดอกอาจจะเกิดจากตาซึ่งอยู่ส่วนต่าง
ๆ ได้หลายส่วน เช่น กล้วยไม้สกุลแคทลียาจะส่งช่อดอกออกมาจากตาซึ่งอยู่ที่ส่วนปลายของลำลูกกล้วย
กล้วยไม้สกุลหวายบางชนิดส่งช่อดอกออกมาจากข้อซึ่งอยู่ปลายลำลูกกล้วยหรือตามข้อที่อยู่ถัดลงมาทางส่วนโค้งของลำลูกกล้วยก็ได้
|
|
|
![](../Images/Other/or2_flower1.jpg) |
ดอก
ดอกกล้วยไม้เป็นดอกสมบูรณ์เพศ
คือ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกันมีหน้าที่ในการสืบพันธุ์
ดอกมีลักษณะ คือ กลีบรองดอก คือกลีบชั้นนอก
เป็นส่วนที่ห่อหุ้มป้องกันส่วนต่างๆ
ในขณะที่มีสภาพเป็นตาดอกอยู่ มักมีลักษณะและสีสันคล้ายใบ
กลีบดอก กล้วยไม้กลีบดอก 6 กลีบ
แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นนอก 3 กลีบ
และชั้นใน 3 กลีบ กลีบชั้นนอกอยู่ข้างบนหนึ่งกลีบ
ข้างๆ หรือข้างล่าง 2 กลีบ กลีบคู่ล่างนี้จะมีขนาดรูปร่างและสีสันเหมือนกัน
แต่กลีบบนอาจแตกต่างออกไป สำหรับกลีบชั้นใน
3 กลีบ กลีบหนึ่งอยู่ข้างล่าง อีก
2 กลีบอยู่ข้างบน กลีบคู่นี้จะมีขนาด
รูปทรง สีสัน เหมือนกัน ส่วนกลีบล่างจะเปลี่ยนไปโดยมีขนาดเล็กลง
หรือโตขึ้น และมีสีสันผิดไปจากกลีบคู่บน
กลีบคู่ล่างมีชื่อเรียกเฉพาะว่า
ปาก หรือ กระเป๋า
|
|
เกสร
คืออวัยวะที่แท้จริงของพืชมีดอก
หรือเป็นส่วนประกอบ เพื่อช่วยให้การผสมพันธุ์กล้วยไม้เป็นพืชที่มีดอกสมบูรณ์เพศ
คือ มีเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน
เกสรกล้วยไม้มีลักษณะเฉพาะ คือ ส่วนของก้านชูยอดเกสรเมียกับก้านชูอับเรณูของเกสรผู้
รวมเป็นอวัยวะอันเดียวกัน และยอดเกสรเมียกับเรณูติดอยู่ส่วนนี้
รวมเรียกส่วนนี้ทั้งหมดว่า เส้าเกสร
ซึ่งจะยื่นออกมาจากจุดเดียวกันกับที่โคนกลีบดอก
ติดอยู่ที่ปลายสุดของเส้าเกสรเป็นที่อยู่ของเรณู
ซึ่งเป็นเชื้อเพศผู้
เรณูนี้เป็นเม็ดขนาดเล็กมากมีฝาครอบปิดอยู่มิดชิด
เรณูของกล้วยไม้มักเกาะกันเป็นก้อนเหนียวๆ
เรียกว่า ก้อนเรณู ถัดจากปลายสุดลงมา
เป็นแอ่งกลมเล็กมีน้ำเหนียวอยู่เต็มแอ่ง
ส่วนนี้คือ แอ่งยอดเกสรตัวเมีย การผสมพันธุ์กล้วยไม้เริ่มแรกก้อนเรณูจะต้องเข้าไปในแอ่งน้ำเหนียว
จะทำหน้าที่กระตุ้นให้เม็ดเรณูงอกเข้าไปผสมพันธุ์กับไข่
ในรังไข่ต่อไป บริเวณก้านดอกส่วนที่อยู่ชิดกับโคนกลีบดอก
ซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าก้านดอกที่ต่ำลงไป
ก้านดอกส่วนนี้เป็นที่อยู่ของอวัยวะเพศเมียอีกส่วนหนึ่ง
คือ รังไข่ ภายในรังไข่จะมีไข่อ่อนเป็นเม็ดเล็กๆ
เกาะติดอยู่มากมาย ไข่อ่อนเหล่านี้เมื่อได้รับการผสมเชื้อเพศผู้จากเรณู
ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตกลายเป็นเมล็ด
ใช้สำหรับสืบพันธุ์ต่อไป
|
ผล
หรือฝัก
ผลหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า
ฝักกล้วยไม้ หลังจากผสมเกสรเสร็จแล้วส่วนก้านดอกซึ่งเป็นรังไข่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว
และเจริญเป็นฝักกล้วยไม้ภายในฝักมีเมล็ด
ฝักกล้วยไม้มีอายุตั้งแต่ผสมเกสรไปจนถึงฝักแก่จะแตกต่างกันไปตามชนิดของกล้วยไม้ร่วมกับสภาพสิ่งแวดล้อมและความสมบูรณ์ขององค์ประกอบในการเจริญงอกงามด้วย
กล้วยไม้บางชนิดอาจจะฝักแก่ได้ในระยะเวลาเพียงเดือนกว่าเท่านั้น
แต่มีกล้วยไม้บางชนิดซึ่งมีฝักอยุ่กับต้นถึง
1- 1/2 ปีถึงจะแก่ ฝักกล้วยไม้ประเภทไม่แตกกอมักจะติดอยู่กับก้านในลักษณะตั้งเอาปลายชี้ขึ้นด้านบน
แต่ฝักกล้วยไม้ประเภทแตกกอมักจะห้อยปลายลงด้านล่าง
เช่น ฝักของกล้วยไม้สกุลหวาย เป็นต้น
ถ้าพิจารณาที่ผิวฝักโดยรอบจะพบว่ามีตะเข็บอยู่
3 แนวยาวตามความยาวของฝัก
ในแต่ละฝักจะมีเมล็ดเป็นจำนวนมากคือตั้งแต่
1,600 - 4,000,000 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเรียวยาวหรือป่องตรงกลางคล้ายลูกรักบี้
เมล็ดมีขนาดเล็กมาก มีคัพภะแต่ไม่มีอาหารสะสม
มีเปลือกบาง ๆ หุ้มเมล็ดอยู่ มีน้ำหนักเมล็ดประมาณ
0.0003-0.0014 มิลลิกรัม มีสีแตกต่างกันไป
เช่น น้ำตาลเทา เหลืองหรือขาว และด้วยเหตุที่เมล็ดกล้วยไม้มีขนาดเล็กมากจึงทำให้ปลิวกระจายไปตามลมได้ง่าย
และเป็นระยะทางไกล ๆ เมล็ดกล้วยไม้ขณะใกล้จะสุกถ้าเป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอจะมีสีเหลืองอมเขียวอ่อน
ๆ หากเป็นกล้วยไม้ประเภทไม่แตกกอจะมีสีน้ำตาลไหม้
กรณีที่ฝักกล้วยไม้ถูกปล่อยไว้กับต้นจนกระทั่งผิวเหี่ยว
และเปลี่ยนสีเขียวเป็นสีเหลืองตะเข็บจะปริออกทำให้เมล็ดซึ่งมีลักษณะเป็นผงละเอียด
และมีน้ำหนักเบารั่วไหลออกมา แล้วปลิวไปกับกระแสลมได้ง่าย
|
ส่วนประกอบต่าง
ๆ ของกล้วยไม้
|
![](../Images/Other/orch_pp.jpg)
1. กลีบชั้นนอกกลีบบน
- dosal sepa
2. กลีบชั้นนอกคู่ล่าง - lateral sepal
3. กลีบชั้นใน - petal
4. ปาก - labelum
5. เส้าเกสร - column
6. หูกระเป๋า - side lobe
7. ปลายปาก - midlobe
8. ฐานเส้าเกสร - column foot
9. เดือยดอก - mentum
10. รังไข่ - ovary
11. ไข่อ่อน - ovule
12. ก้านดอก - pedicel
13. ก้อนเรณู - pollinia
|