โรงเรือนกล้วยไม้
กล้วยไม้ที่เรานำมาปลูกเลี้ยงส่วนใหญ่ไม่ได้เจริญอยู่บนพื้นดินในที่กลางแจ้งเหมือนกับพืชไร่
พืชผักและไม้ผลทั่วไป ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดสภาพแวดล้อมบางอย่างให้เหมาะสมหรืออาจเรียกได้ว่าสร่างบ้านที่เหมาะสมสำหรับกล้วยไม้
เพื่อให้กล้วยไม้เจริญงอกงามได้ดี สภาพแวดล้อมส่วนใหญ่ที่กล่าวถึงสำหรับกล้วยไม้ในประเทศไทยได้แก่
แสงแดด 50-60 % อุณหภูมิ 25-35 องศาเซลเซียล ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ
60-80 % การระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศที่ดีในวัสดุปลูก
(planting materials) และการหมุนเวียนของอากาศ
(air movement)
หรือลมที่พัดผ่านอ่อน
ๆ รอบต้นและรากกล้วยไม้ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สามารถที่จะกระทำได้ทั้งภายในอาคารบ้านเรือน
ภายนอกอาคารบ้านเรือน และภายในโรงเรือนที่ใช้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้โดยเฉพาะ
ปัจจัยสภาพแวดล้อม
เนื่องจากกล้วยไม้ที่ปลูกในประเทศไทยเป็นไม้เขตร้อน
ดังนั้นปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับอุณหภูมิจึงไม่ต้องคำนึงถึงมากนัก
แต่ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมากมีอยู่
3 ปัจจัย คือ
1. ความเข้มแสงแดด
กล้วยไม้บางชนิดต้องการแสงแดดเต็มที่ แต่บางชนิดต้องการร่มเงามาก
โครงสร้างของใบกล้วยไม่มีความสัมพันธ์กับความต้องการแสงแดด
กล้วยไม้ใบหนาและใบกลมจะต้องการแสงแดดเต็มที่
เมื่อโครงสร้างใบเริ่มกว้างและนิ่มจะต้องการแสงแดดน้อยลง
และเมื่อใบนิ่มสีเขียวมีแผ่นใบใหญ่จะต้องการร่มเงามาก
ดังนั้นจึงควรเลือกตาข่ายพรางแสงให้แสงผ่านได้มากน้อยตามความต้องการของกล้วยไม้ชนิดนั้น
ๆ
2. ความชื้น
กล้วยไม้ส่วนใหญ่ต้องการความชื้นสูงและมีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ
60-80 % แต่ไม่ต้องการให้บริเวณรากชื้นแฉะจนเกินไปโดยเฉพาะกล้วยไม้อากาศ
กล้วยไม้ที่มีใบหนา ผิวใบหยาบรวมทั้งมีลำลูกกล้วย
(pseudobulb) จะทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีกว่ากล้วยไม้ที่มีใบบาง
ผิวใบนิ่ม รวมทั้งไม่มีลำลูกกล้วย การปรับความชื้นภายในโรงเรือนให้เหมาะสมทำได้โดยการให้น้ำในปริมาณที่เหมาะสม
ปลูกกล้วยไม้ในปริมาณที่เหมาะสม และจัดการสภาพแวดล้อมภายนอกโรงเรือนให้มีความชื้นเพียงพอ
3. การเคลื่อนที่อากาศ
กล้วยไม้ส่วนใหญ่โดยเฉพาะกล้วยไม้อากาศเจริญตามกิ่งไม้
ดังนั้นบริเวณที่ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ควรมีการเคลื่อนที่ของอากาศที่ดี
ต้นกล้วยไม้จึงจะเจริญเติบโตได้ดี
โรงเรือน
ในการสร้างโรงเรือนสำหรับปลูกกล้วยไม้นั้น
จุดประสงค์เพื่อใช้จัดวางต้นกล้วยไม้ให้เป็นระเบียบสะดวกแก่การทำงาน
และปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเจริญเติบโต
และการออกดอกของกล้วยไม้ที่อยู่ในโรงเรือน ต้นกล้วยไม้ทุกชนิดมีความต้องการแสงแดด
เพื่อใช้สังเคราะห์แสงสร้างอาหารนำไปใช้ในการเจริญเติบโต
แต่ต้นกล้วยไม้ไม่สามารถทนต่อความร้อนที่มากับแสงแดดได้จึงจำเป็นต้องมีการพรางแสง
เพื่อช่วยลดอุณหภูมิให้ต่ำลง โดยสร้างหลังคาโรงเรือนให้พรางแสงเหลือเพียงร้อยละ
50-70 ตามความต้องการของกล้วยไม้แต่ละชนิด และต้องมีการระบายอากาศดีไม่ให้ร้อนอบอ้าว
แต่ไม่ควรให้ลมโกรกแรงเกินไปจนพัดพาความชื้นไปหมด
โครงสร้างโรงเรือนควรแข็งแรง
ลักษณะโรงเรือนของกล้วยไม้แต่ละสกุล
สกุล
|
ความสูงโรงเรือน
(เมตร) %
|
การพรางแสง
|
วิธีการปลูก
|
หวาย |
2.5
- 3.5
|
50
- 60
|
วางบนชั้น
|
ออนซิเดียม |
2.5
- 3.5
|
40
- 50
|
วางบนชั้น
|
อะแรนด้า |
3.0
- 4.0
|
50
- 70
|
วางบนชั้นหรือปลูกลงแปลง
|
ม๊อคคาล่า |
3.0
- 4.0
|
50
- 70
|
วางบนชั้นหรือปลูกลงแปลง
|
แวนด้า
|
|
|
|
-
ใบแบน |
3.0
- 4.0
|
40
- 50
|
วางบนชั้นหรือแขวนหรือลงแปลง
|
-ใบร่อง
|
3.0
- 4.0
|
20
- 30
|
ปลูกลงแปลง
|
โครงสร้างโรงเรือน
โรงเรือนสร้างได้เป็น
2 แบบ คือ
1. สร้างเป็นโรงเรือนหลังใหญ่แล้วสร้างโต๊ะวางกล้วยไม้หรือราวแขวนไว้ภายใน
2. สร้างโต๊ะวางกล้วยไม้ แล้วใช้ไม้ต่อจากโต๊ะขึ้นไปเพื่อทำโครงหลังคา
นิยมทำสำหรับกล้วยไม้สกุลหวาย
เสาโรงเรือน
ในกรณีสร้างเป็นโรงเรือนหลังใหญ่
ควรใช้เสาที่ทำด้วยคอนกรีตอัดแรงหรือแป๊บน้ำ เหล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง
3 นิ้ว ให้ฝังลงในดิน 50 เซนติเมตร ที่เหลือบนผิวดินยาวตามความสูงที่ต้องการ
อาจใช้เสารั้วคอนกรีตอัดแรงยาว 2-3 เมตร แล้วต่อด้วยไม้เพื่อให้สูงตามต้องการ
ไม่ควรใช้ไม ้เพราะจะผุตรงคอดินและหักได้ง่าย
เสาห่างกัน 6 เมตร เสาแถวริมต้องมีเสาค้ำยันเพื่อกันเรือนโยก
หลังคาโรงเรือน
ปัจจุบันนิยมใช้ตาข่ายไนล่อนสีดำ
ที่เรียกกันว่าซาแรนคลุมหลังคา เนื่องจากราคาถูกสร้างได้ง่าย
และไม่เปลืองเสาเนื่องจากมีน้ำหนักเบาราคาตารางเมตรละ
8-15 บาท ทำคานที่หัวเสาซึ่งลวดเบอร์ 14 ตามความยาวของเรือนทุกระยะครึ่งเมตร
การขึงตาข่ายไนล่อนสีดำ อาจทำโดย
1. เย็บติดเป็นผืนเดียวกัน
แล้วเอาขึ้นคลุมหลังคาหรือขึงบนหลังคา แล้วจึงเย็บติดกันตรึงกับลวดเป็นระยะ
ๆ เพื่อกันกระพือมีข้อเสียที่ไม่ต้านพายุอาจถูกพัดพังได้ง่าย
2. ขึงแต่ละผืนชิดกันหรือเว้นช่องว่างเล็กน้อย
และตรึงกับลวดเป็นระยะ ๆ จะช่วยลดแรงปะทะของลมพายุ
3. ขึงต่างระดับ
ให้แต่ละแผ่น (หน้ากว้าง 2 เมตร) อยู่สลับกัน
สูง ต่ำ เพื่อให้ระบายอากาศได้ดีขึ้น และลดแรงปะทะของลมพายุ
การขึงซาแรน
ต้องขึงให้ตึง และตรึงติดกับลวดให้เรียบร้อย อยู่ให้ทับหัวเสา
เพราะจะขาดง่าย จากการทดลองวัดอุณหภูมิ ความชื้นสัมพันธ
์และความเข้มแสงของเรือนกล้วยไม้ ในวันที่ 18
ธันวาคม 2531 โดยวัดบริเวณยอดกล้วยไม้ ดังนี้
อุณหภูมิภายในและภายนอกเรือนกล้วยไม้
(องศาเซลเซียส)
เวลา
(น.) |
หลังคาซาแรน
1 ชั้น |
หลังคาซาแรน
2 ชั้น |
หลังคาระแนง |
ภายนอกเรือน
|
09.00
|
24 |
24 |
24 |
25 |
10.00 |
26 |
26 |
25 |
27.5 |
11.00 |
29.5 |
29 |
27.5 |
30 |
12.00 |
30 |
31.5 |
30 |
33.5 |
13.00
|
30 |
30 |
33.5 |
38 |
14.00
|
31 |
31 |
31 |
34.5 |
15.00
|
30.5 |
30.5 |
34 |
36.5 |
18.00 |
29 |
29.5 |
35 |
35 |
ความเข้มแสง
(กิโล-ลักซ์) ภายในและภายนอกเรือนกล้วยไม้
เวลา
(น.)
|
หลังคาซาแรน
1ชั้น
|
หลังคาซาแรน
2ชั้น
|
หลังคาระแนง
เงามืด
|
หลังคาระแนง
ช่วงสว่าง
|
ภายนอกโรงเรือน
|
9.00
|
10
|
10
|
2
|
15
|
40
|
10.00
|
20
|
20
|
3
|
20
|
50
|
11.00
|
20
|
20
|
4
|
15
|
50
|
12.00
|
22
|
10
|
4
|
20
|
50
|
13.00
|
20
|
8
|
10
|
40
|
60
|
14.00
|
15
|
7
|
5
|
10
|
45
|
15.00
|
13
|
7
|
10
|
20
|
50
|
18.00
|
9
|
4
|
7
|
10
|
35
|
จากตารางจะเห็นได้ว่าอุณหภูมิ
ภายนอกเรือนระหว่าง 11.00 - 18.00 น. จะสูงกว่าในโรงเรือน
และตั้งแต่ 13.00 น. ภายในเรือนระแนงจะร้อนกว่า
สำหรับความเข้มของแสงนั้น
พบว่า การขึงซาแรน 2 ชั้น จะช่วยลดความเข้มของแสงน้อยกว่าชั้นเดียวตั้งแต่
12.00 - 18.00 น. ในช่วงเช้า และบ่ายหลังคาซาแรนจะพรางแสงได้มากกว่า
50% ในช่วงเที่ยงวัน สำหรับหลังคาระแนงนั้น เมื่อวัดในช่วงสว่างจะใกล้เคียงกับหลังคาซาแรน
1 ชั้น แต่ความเข้มของแสงไม่เท่ากับภายนอก เพราะระหว่างที่แสงส่องลงมาเมื่อผ่านไม้ระแนงจะเกิดเงามืด
และทำให้รอบ ๆ เงามืดเป็นเงามัว ความเข้มของแสงจึงลดลงมากกว่าครึ่ง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างหลังคาซาแรน
และหลังคาระแนงแล้วจะเห็นว่าต้นกล้วยไม้ใต้หลังคาซาแรนจะได้รับแสงสม่ำเสมอทุกจุดดีกว่าหลังคาระแนง
ข้อดี
และข้อเสียของการใช้ซาแรน
ข้อดี
1. ประหยัดโครงหลังคาและเสา
ทำให้ต้นทุนการสร้างโรงเรือนลดลง
2. สร้างได้รวดเร็วและรื้อถอนได้ง่าย
เมื่อไม่ต้องการใช้หรือเมื่อต้องการเปลี่ยนใหม่
3. ราคาถูก
4. แสงแดดที่ผ่านซาแรนลงมาจะเฉลี่ยเท่ากันทุกจุดของพื้นที่
และสามารถควบคุมความเข้มแสงแดดได้ถูกต้อง เช่น
กล้วยไม้สกุลหวายและกลุ่มแคทลียา ต้องการแสงแดดประมาณ
60 % กลุ่มแวนด้าต้องการแสงแดดประมาณ 50 % และลูกกล้วยไม้ต้องการประมาณ
20 %
5. มีอายุการใช้งานนานถึง
5 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นกับคุณภาพของซาแรน
ข้อเสีย
1. ถ้าไม่มีทางเปิด อุณหภูมิภายในโรงเรือนจะสูงกว่าปกติ
และอากาศไม่ถ่ายเทเท่าที่ควร ทำให้ต้นกล้วยไม้เจริญเติบโตไม่ดี
2. ถ้าสร้างโรงเรือนในที่โล่ง
และมีลมพายุพัด อาจทำให้โรงเรือนล้มพังลงได้ถ้าโครงสร้างของโรงเรือนไม่แข็งแรงนัก
พื้นโรงเรือน
พื้นโรงเรือนที่ปลูกกล้วยไม้ตัดดอก
ส่วนทางเดินควรขุดในบริเวณใต้โต๊ะมาถมให้สูง เพื่อให้น้ำระบายได้เร็วและใต้โต๊ะจะกลายเป็นทางระบายน้ำ
สภาพในกรุงเทพฯ และบริเวณใกล้เคียงนั้นดินเป็นดินเหนียว
หลังจากรดน้ำหรือฝนตกทางเดินจะแฉะ และลื่นมาก
ถ้าใช้แผ่นซีเมนต์ปูทางเดินจะทำงานได้สะดวกขึ้น
และลดอันตรายจากการล้ม
การกำจัดวัชพืชที่พื้นเรือนนั้นใช้สารกำจัดวัชพืชดีกว่าการใช้แรงคน
มีให้เลือกใช้หลายชนิดทั้งประเภททำให้ใบเหลืองแล้วแห้งตาย
ชนิดคุมไม่ให้เมล็ดงอก ระวังขณะฉีดอย่าให้สารนี้กระเด็นมาโดนต้นกล้วยไม้
จะทำให้ใบไหม้ได้ มีสารบางชนิด เช่น ไซมาซิน สามารถฉีดไปที่โคนต้นกล้วยไม้ได้
โดยไม่ทำให้ต้นกล้วยไม้ตาย แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเครื่องฉีดสารฆ่าหญ้าต้องใช้แยกกับเครื่องรดปุ๋ยหรือสารกำจัดราและแมลง
เพื่อกันไม่ให้สาร ฆ่าหญ้าที่ตกค้างในเครื่องฉีดไปเป็นพิษต่อต้นกล้วยไม้
โต๊ะวางกล้วยไม้
สำหรับต้นกล้วยไม้ที่ปลูกโดยวางบนโต๊ะนั้น
ทำโต๊ะสูง 70 เซนติเมตร กว้าง 1 เมตร และยาว 15-25
เมตร แล้วแต่ขนาดพื้นที่ เว้นทางเดินกว้าง 1-1.2
เมตร เพื่อความสะดวกในการทำงาน พื้นโต๊ะอาจใช้ไม้ไผ่
สายโทรศัพท ์หรือลวดสลิงขึงตามความยาวของโต๊ะสำหรับไม้นั้นใช้ได้ดีที่สุดแต่มีราคาแพง
ไม้ไผ่ผุง่าย สายโทรศัพท์ใช้ได้ทนทานแต่หย่อนได้ง่าย
เมื่อต้นโตขึ้น และมีน้ำหนักมากขึ้น ถ้ามีผู้ดัดแปลงใช้เป็นเสาคอนกรีตอัดแรงท่อนเล็กกว่าเสารั้วมาใช้วาง
จะลดต้นทุนในระยะยาวได้
ราวแขวนกล้วยไม้
สำหรับกล้วยไม้ประเภทรากอากาศ
เช่น แวนด้า แอสโคเซนด้าต้องปลูกในกระเช้า แล้วแขวนราวด้วยลวด
ราวควรสูงจากพื้นดินประมาณ 2.5 เมตร ทำ 4 ราว
ระยะห่างระหว่างราว 40-50 เซนติเมตร แล้วเว้นทางเดินประมาณ
1 เมตร ถ้าเป็นพวกแวนด้าต้นใหญ่ ราวต้องสูงกว่านี้
เพื่อไม่ให้รากระพื้นดิน พื้นเรือนควรถมทราย เพื่อให้ระบายน้ำดี
และไม่เป็นที่สะสมของโรค และแมลง
|